ส่วนประสมทางการตลาดบริการและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการของลูกค้า ร้าน 918 คาร์ ดีเทลลิ่ง สปา แอนด์ วอช

ผู้แต่ง

  • รัฐชัย ชูทองรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, คุณภาพในการให้บริการ , ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยของประชากรศาสตร์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ปัจจัยคุณภาพในการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า ในการเลือกใช้บริการ ร้าน 918 คาร์ ดีเทลลิ่ง สปา แอนด์ วอช ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยคือ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการร้าน 918 คาร์ ดีเทลลิ่ง สปา แอนด์ วอช โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ผลการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ในแต่ละด้านมีค่าอยู่ระหว่าง 0.743 ถึง 0.924 สามารถนำไปใช้ในการวิจัยได้ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในการเลือกใช้บริการร้าน 918 คาร์ ดีเทลลิ่ง สปา แอนด์ วอช แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ได้แก่ ด้านราคา ด้านสถานที่ตั้ง ด้านการส่งเสริมการตลาดและ ด้านกระบวนการให้บริการ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้าน 918 คาร์ ดีเทลลิ่ง สปา แอนด์ วอช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 14.7  และ 3) ปัจจัยคุณภาพในการให้บริการ ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้าน 918 คาร์ ดีเทลลิ่ง สปา แอนด์ วอช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 13.6

References

กันยากาญจน์ จันทร์เหลี่ยม และพัฒน์ พิสิษฐเกษม. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการใช้บริการไปรษณีย์ไทย สาขามหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 352-364.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกริกฤทธิ์ อินแถลง และ ธนกร สิริสุคันธา. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อความพึงพอใจในการใช้บริการธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 7(1), 561-574.

เกียรติดำรง คันทะไชย์ และ ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและคุณภาพบริการที่มีอิทธิพลต่อวามพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานดูแลผู้สูงอายุเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(2), 1-17.

ณพวิทย์ วชิราปัญญานนท์. (2560). ปัจจัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคาร์แคร์ (Car Care) ของประชากรในเขตบางขุนเทียน [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. e-Research Siam University. https://e-research.siam.edu/kb/satisfaction-factors-influence-decisions-on-use/

ณัฐฐา เสวกวิหารี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดี [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. TU DIGITAL COLLECTIONS. https://digital.library.tu.ac.th/tu_ dc/frontend/Info/item/dc:90996

ธัญญมาส ปัจจุสานนท์. (2565). คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ กูร์เมต์ มารเก็ต สาขา ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ และ ศิริพงศ์ รักใหม่. (2562). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 302-314.

ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior). ธรรมสาร.

พรภิมล พูลสำราญ, อัฎศณี เพียรเจริญวงศ์ และ วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2566). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านคาร์แคร์ ในจังหวัดนครปฐม. วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 2(1), 26-38.

พิชญ์ยุกต์ สุภาภัทรานนท์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านอาหารกึ่งผับของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. CMMU Digital Archive https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2867

พิมพ์ณัฐชยา สีเพียง. (2558). ศึกษารูปแบบร้านคาร์แคร์ และการตัดสินใจรับบริการคาร์แคร์ ในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี. [งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ, กิตติยา ชัชวาลชาญชนกิจ, พรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล และ ระเบียบ ปัทมดิลก . (2562). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจที่มีต่อผู้โดยสารรถไฟ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 101-106.

ภูรีภัทร ชั่งจันทร์. (2558). ความพึงพอใจในการใช้บริการร้านสตาร์บัคส์ที่เซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า. [สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม.

รสสุคนธ์ แซ่เฮีย. (2556). ปัจจัยพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรม คุณภาพการบริการ ส่วนผสมการตลาดบริการ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ฤทธิ์เจตน์ รินแก้วกาญจน์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) และปัจจัยด้านการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. e-Research Siam University. https://e-research.siam.edu/kb/marketing-mix-7ps-and-service-factors-affecting-to-the-satisfaction-of-patients-of-huacheiw-traditional-chinese-medicine-clinic-in-bangkok/

ศศิวิมล สุขยฤกษ์. (2563). คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสำนักงานบัญชี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 8(2), 196-205.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และ ศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธรรมสาร.

ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการคลังและการลงทุนของกรุงเทพมหานคร. (2565). สถิติจำนวนรถยนต์ที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร. http://203.155.220.117:8080/BMAWWW/html_statistic/index2. php?group_id=590

สุริยันต์ ศรีอินหงค์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการศูนย์บริการ AIS ในกรุงเทพฯและปริมณฑล. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. TU DIGITAL COLLECTIONS. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:90940

โสภิตา รัตนสมโชค. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (บีทีเอส) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. TU DIGITAL COLLECTIONS. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/ frontend/Info/item/dc:94395

ออโต้ สปินน์. (2564, 30, มีนาคม). การปรับตัวของภาคธุรกิจ SME อย่างคาร์แคร์ในยุค Disruption. https://www.autospinn.com/2021/03/carcare-disruption-82391

อัชฌาวดี โฆษิตานนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการขนส่งเอกชน เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ในกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. BU RESEARCH http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4193

Aday, L. N., & Andersen, R. (1978). Theoretical and Methodelogical Issues in Socialogical Studies of Consumer Satisfaction with Medical Care. Social Science and Medicine, 12, 28.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd Ed.). John Wiley & Sons.

Hawkins, Del I. and Mothersbaugh, David L. (2010). Consumer behavior: building marketing strategy. McGraw-Hill, Inc.

Kotler, P. (1997). Principles of Marketing. Prentice-Hall.

Kotler, P. (2000). Marketing Management the Millennium Edition. Prentice-Hall.

Lewis, R. C. & Booms, B. H. (1983). The Marketing Aspects of Service Quality. America Marketing Association.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., and Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A Multi-item Scale foe Measuring Consumer Perception of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Patterson, P. G., & Spreng, R. A. (1997). Modelling theRelationship between Perceived Value, Satisfaction and Repurchase Intentions in a Business-to Business, Service Context: An Empirical Examination. International Journal of Service Industry Management, 8(5), 414-434.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27