ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวให้อยู่รอดในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
คำสำคัญ:
การรับรู้ , การปรับตัว , การระบาด , ไวรัสโควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 กับการปรับตัวให้อยู่รอดในสถานการณ์โควิด-19 ด้านสังคมและวัฒนธรรม ประชากรคือ ผู้ที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน คือ การสุ่มอย่างง่าย การสุ่มแบบใช้โควตา และการสุ่มแบบตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การหาค่าที สถิติเอฟ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า เพศ สถานภาพ และอาชีพที่แตกต่างกันมีการปรับตัวให้อยู่รอดในสถานการณ์โควิด-19 แตกต่างกัน นอกจากนี้การรับรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวให้อยู่รอดในสถานการณ์โควิด-19 ด้านสังคมและวัฒนธรรม ในทิศทางบวกระดับสูง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf
กรมสุขภาพจิต. (2564). เผย 3 วิธีปรับตัวรับโควิดง่าย ๆ เริ่มจากพื้นฐานภายในครอบครัว. สืบค้นจาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31115
กองยุทธศาสตร์และสารสนเทศที่อยู่อาศัย. (2565). รายงานข้อมูลประชากรและบ้าน 2564. กรุงเทพมหานคร. ผู้แต่ง.
ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และโชติ บดีรัฐ. (2563). “New Normal” วิถีชีวิตใหม่ และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงานการเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386.
วหทัยกาญจน์ พันธ์ศรีนิรมล. (2559). การเปิดรับ การรับรู้ ทัศนคติ การมีส่วนร่วมและนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในประชาชนของกรมทรัพย์สินทางปัญญา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
วิเชียร มันแหล่, บุญยิ่ง ประทุม, สุรศักดิ์ แก้วอ่อน และกรกฎ จำเนียร. (2564). ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11). 327-340.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์กรสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา. (2565). การปรับตัวในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเตรียมพร้อมสู่ NEW NORMAL สำหรับผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 13(1), 83-104.
อัญชลี กตัญญูและ พงศกร เขมวัฒน์เดชา. (2564). ศักยภาพการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 3(1), 35-58.
อุบลวรรณา ภวกานันท์, จิราภา เต็งไตรรัตน์, นพมาศ อุ้งพระ, รัจรี นพเกตุ, รัตนา ศิริพานิช, วารุณี ภูวสรกุล, ศรีเรือน แก้วกังวาล, ศันสนีย์ ตันติวิท และสิริอร วิชชาวุธ. (2554). จิตวิทยาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bernard, Harold W. Mental. (1960). Health for Classroom. New York: McGraw-Hill.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Coleman, J. C. (1981). Abnormal Psychology and Modern Life. New York: Bombay.
Schiffman, G., & Kanuk, L. L. (2000). Customer Behavior. (7th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Thai PBS. (2563). วันที่ไทยรู้จัก COVID-19. สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/290347
The standard team. (2564). 12 มกราคม 2563 – พบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://thestandard.co/onthisday120163/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น