ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมของแรงงานนอกระบบในเขตจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พัชรี สิทธิโอฬารสกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • มะดาโอะ สุหลง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การออม , พฤติกรรมการออม , แรงงานนอกระบบ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมของแรงงานนอกระบบในเขตจังหวัดปทุมธานี และปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมของแรงงานนอกระบบในเขตจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ แรงงานนอกระบบในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสมการถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการออมของแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ออมเงินเฉลี่ยต่อเดือนที่ไม่แน่นอนและไม่มีการกำหนดการออมเฉลี่ยต่อเดือนโดยแต่ละเดือนจะออมตามเงินที่เหลือ  ด้านรูปแบบการออมส่วนใหญ่จะออมโดยฝากเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ และเป้าหมายการออมที่สำคัญที่สุดคือเพื่อสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการออมเฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานนอกระบบต่างกัน ส่วนเพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และจำนวนบุตรที่แตกต่างกันส่งผลต่อการออมเฉลี่ยต่อเดือนไม่ต่างกัน 2) ปัจจัยเศรษฐกิจด้านระดับราคาสินค้า มีผลต่อการออมเฉลี่ยต่อเดือน ส่วนรายได้ การบริโภค อัตราดอกเบี้ย ไม่มีผลต่อการออมเฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานนอกระบบ และ 3) ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ จำนวนสาขาสถาบันการเงิน และเป้าหมายการออม มีผลต่อการออมเฉลี่ยต่อเดือน ส่วนสิ่งจูงใจและการโฆษณาไม่มีผลต่อการออมเฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานนอกระบบ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงแรงงาน. (2561). แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ. สืบค้นจากhttp://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER22/DRAWER039/GENERAL/DATA0000/00000212.PDF

ไกรวิชญ์ ประชุมพันธ์, ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ และ สุคนธ์ เครือน้ำคำ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้บริโภคเพื่อใช้จ่ายในอนาคตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา).

ซานียะฮ์ ช่างวัฒนกุล และ กลางใจ แสงวิจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนจังหวัดสตูล. (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ศิวัช กรุณาเพ็ญ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมและพฤติกรรมการออมของคน Gen Y. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สุวีณา กลัดเกิด. (2551). การศึกษาพฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมของพนักโรงงานอุตสาหกรรม เขตนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

สำนักงานแรงงานจังหวัดปทุมธานี. (2564). สถานการณ์แรงงานจังหวัดปทุมธานีไตรมาส 2 ปี 2564. สืบค้นจาก https://pathumthani.mol.go.th/news/สถานการณ์แรงงานไตรมาส-2-ปี-2564

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563ก). การออมของครัวเรือนไทย. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/

DocLib13 /ด้านสังคม/สาขารายได้/การออมภาคครัวเรือน/Q4_2563.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563ข). การสำรวจแรงงานนอกระบบ. สืบค้นจากhttp://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/labour/informalEmployment/2020/Full_Report_2020.pdf

Ando, A., & Modigliani, F. (1954). The life cycle hypothesis of saving aggregate implications and tests. America Economic Review, 53, 55–84.

Deaton, A. (1977). Franco Modigliani and the life cycle theory of consumption. Paper presented at the Convengno lnternazionale Franco Modigliani, Accademia Nazionale del Lincei, Rome.

Keynes, J. M. (1936). The general theory of employment interest, and money. New York: Harcount, Brace &World.

Modigliani, F., & Brumberg, R. (1954). Utility analysis and the consumption function: An interpretation of cross-section data. Franco Modigliani, 1(1), 388-436.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30