การบริหารแบบสมดุลเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล
คำสำคัญ:
การบริหารแบบสมดุล , ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน , ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบเชิงยืนยันของการบริหารแบบสมดุลในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ 2) อิทธิพลของการบริหารแบบสมดุลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ทำการเก็บข้อมูลออนไลน์จากผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่ด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาและค่าความเที่ยง จำนวน 520 ราย ตามวิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองและการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบสมดุลในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบด้านการเงินซึ่งปัจจัยการลดต้นทุนในการผลิต ต้นทุนในการดำเนินงาน หรือค่าใช้จ่ายหลักของกิจการมีค่าน้ำหนักมากที่สุด องค์ประกอบด้านลูกค้าซึ่งปัจจัยการให้บริการเพื่อลดข้อร้องเรียนจากลูกค้ามีค่าน้ำหนักมากที่สุด องค์ประกอบด้านกระบวนการภายในซึ่งปัจจัยการลดความผิดพลาดในการทำงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานอยู่เสมอมีค่าน้ำหนักมากที่สุด และองค์ประกอบด้านการเรียนรู้และพัฒนาซึ่งปัจจัยการสร้างความสุขในการทำงานให้กับพนักงานมีค่าน้ำหนักมากที่สุด และ 2) การบริหารแบบสมดุลส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = 0.85) และ มีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 86.00
References
บุรินทร์ ศิริเนตร์ และ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2561). การปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสหวิทยาการจัดการ, 5(1), 69-75.
มุกดาวรณ์ สมจันทร์มะวงค์. (2561). การประเมินประสิทธิภาพองค์การ โดยใช้เทคนิคการบริหารแบบสมดุล กรณี ศึกษา สถานีรถไฟ ท่านาแล้ง ส ป ป ลาว. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(1), 79–90.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). ตารางสถิติ จำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำแนกตามจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ปี 2560 – ปี 2561 . สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20190913045916.pdf
Ahmad, F., Hamid, N. A., Ahmad, A. N. A., Nawi, M. N. M., Rahman, N. A. A. A., & Hamid, N. A. A. (2022). The impact of TQM on business performances based on balanced scorecard approach in Malaysia SMEs. International Journal for Quality Research, 16(1), 231-242.
Best, J., & Kahn, J. (1998). Research in education (8th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Borocki, J., Radisic, M., Sroka, W., Greblikaite, J., & Androniceanu, A. (2019). Methodology for strategic posture determination of SMEs- the case from a developing country. Inžinerinė Ekonomika-Engineering Economics, 30(3), 265-277.
Bohm, V., Lacaille, D., Spencer, N., & Barber, C. E. (2021). Scoping review of balanced scorecards for use in healthcare settings: development and implementation. BMJ Open Quality, 10(3), e001293.
Chong, P., Ong, T., Abdullah, A., & Choo, W. (2019). Internationalization and innovation on balanced scorecard (BSC) among Malaysian small and medium enterprises (SMEs). Management Science Letters, 9(10), 1617-1632.
Drucker, P. F. (2001). Management Challenges for the 21th Century. New York: Harper Be sine.
Hair, J. F., Jr. Black, W. C, Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: Global Edition, (7th Ed.). NY: Pearson Prentice Hall.
Hakim, C. (2021). SME performance before and during the global crisis due to Covid-19 Pandemic. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education (TURCOMAT), 12(11), 4938-4944.
Jöreskog, K. G., & Sörbom, D., (2012). LISREL 9.1: LISREL syntax guide. Chicago: Scientific Software International, Inc,.
Kaplan, R. S. (2012). The balanced scorecard: comments on balanced scorecard commentaries. Journal of Accounting & Organizational Change, 8(4), 539-545.
Kaplan, R. & Norton, D. (2012). The Strategy-Focused Organization: How Balanced Scorecard Companies Thrive in the New Business Environment. Boston: Harvard Business School Press.
Madsen, D. Ø. (2015). The balanced scorecard in the context of SMEs: A literature review. Review of Business Research, 15(3), 75-86.
Mura, L., & Hajduová, Z. (2021). Measuring efficiency by using selected determinants in regional SMEs. Entrepreneurship and Sustainability Issues, 8(3), 487-503.
Pisar, P., & Bilkova, D. (2019). Controlling as a tool for SME management with an emphasis on innovations in the context of Industry 4.0. Equilibrium. Quarterly Journal of Economics and Economic Policy, 14(4), 763-785.
Sarigül, S. S., & Coşkun, A. (2021). Balanced scorecard (bsc) as a strategic performance management tool: application in a multinational bank. R&S-Research Studies Anatolia Journal, 4(2), 115-129.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น