รูปแบบการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ในเมืองเก่าสตูล ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สมพล ทุ่งหว้า คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

เมืองเก่าสตูล , การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน , การไหลทางกายภาพ , การไหลของสารสนเทศ , การไหลของการเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวในเมืองเก่าสตูลของนักท่องเที่ยว 2) ศึกษาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในเมืองเก่าสตูล และปัญหาพร้อมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในเมืองเก่าสตูล ตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการท่องเที่ยวในเมืองเก่าสตูล และ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในเมืองเก่าสตูล ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองเก่าสตูล 400 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีจัดระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Independent Samples t-test และ One way ANOVA และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วทำการสังเคราะห์ผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อสร้างเป็นรูปแบบการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในเมืองเก่าสตูล   

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในเมืองเก่าสตูล ประกอบด้วยการพัฒนาใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการไหลทางกายภาพ 2) ด้านการไหลของสารสนเทศ 3) ด้านการไหลของเงิน และ 4) ด้านการดำเนินงานเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว โดยในการนำรูปแบบการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในเมืองเก่าสตูลที่ได้สร้างขึ้นไปใช้งาน จะต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นทางจังหวัดควรจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการทำงานที่ชัดเจน และมีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า. (2559). เรื่อง ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าสตูล. สืบค้นจาก http://www.onep.go.th/nced/wp-content/uploads/2016/09/ประกาศเขตเมืองเก่าสตูล.pdf

คมสัน สุริยะ. (2552). หัวใจของโลจิสติกส์การท่องเที่ยว. สืบค้นจาก http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=190:2009-07-16-19-513&catid=64:2008-12-01-11-20-40&Itemid=78

ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์. (2552). การจัดการโลจิสติกส์ สำหรับการท่องเที่ยว: อะไร ทำไม และอย่างไร. สืบค้นจาก https://pairach.com/2011/07/14/why_tourism_logistics/

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2560-2580). (2561). ราชกิจจานุเบกษา, 135(82ก), 5-9. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF

รุธิร์ พนมยงค์. (2547). การจัดการโลจิสติกส์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เวลาดี.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

สำนักงานจังหวัดสตูล. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดสตูล 4 ปี (2561-2564) (ฉบับใช้ปี 2562). สืบค้นจาก http://www.satun.go.th/news_devpro

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก https://www.onep.go.th/book/แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวด/

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำ ROADMAP การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมแห่งชาติระยะ 20 ปี (2561-2580). สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER38/DRAWER027/GENERAL/DATA0000/00000855.PDF

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นจาก https://www.onep.go.th/book/นโยบายและแผนการส่งเสริ/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก http://nscr.nesdc.go.th/cr/ด้านทรัพยากรธรรมชาติแล/

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

อุษาวดี พลพิพัฒน์. (2545). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนในประเทศไทย. จุลสารการท่องเที่ยว, 21(4), 38-48.

Dickman, C. R. (1996). Overview of the impacts of feral cats on Australian Native Fauna. Australian Nature Conservation Agency, University of Sydney, Australia.

Hinkle, D. E., William, W., & Stephen, G. J. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). NY: Houghton Mifflin.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29