การเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว ต่อข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพอาเซียน มุมมองจากธุรกิจการท่องเที่ยว

ผู้แต่ง

  • อุมาวสี ศรีบุญลือ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อรวี ศรีบุญลือ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

บุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว, ความพร้อม , ข้อตกลงยอมรับร่วม , ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals: ASEAN MRA - TP) ต่อมุมมองของผู้บริหารระดับสูงที่มีต่อ MRA-TP และการเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว และ 2) ให้แนวทางสำหรับการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวตาม MRA-TP ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสอบถามปลายเปิดกึ่งโครงสร้าง โดยสอบถามผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการทั่วไป หรือผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของธุรกิจบริการโรงแรม จำนวน 10 คน และเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยวและนำเที่ยวในไทย จำนวน 10 คน ใช้การเลือกโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Non probability sampling) ด้วยเทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยเน้นที่ธุรกิจที่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี

ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่เชื่อว่า MRA – TP และมาตรฐานสมรรถนะนั้นดี มีประโยชน์มากมายสำหรับทั้งธุรกิจและพนักงาน และจะเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการจัดการและพัฒนาทรัพยากรบุคคล นอกจากนี้ เพื่อให้บุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวสามารถเคลื่อนย้ายงานได้ในประเทศอาเซียน พวกเขาต้องปฏิบัติตามคุณสมบัติและการรับรองสมรรถนะด้านการท่องเที่ยว โดยสมรรถนะที่สำคัญในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ได้แก่ การมีความรู้และสมรรถนะเกี่ยวกับตำแหน่งงาน การใช้ภาษาต่าง ๆ ที่เหลากหลายเพื่อการสื่อสารที่เหมาะสม การทำงานอย่างเต็มความสามารถและด้วยความขยันขันแข็ง การมีใจรักการบริการและให้ความสำคัญกับลูกค้า และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้

References

Alonderiene, R., & Navickiene, R. (2009). Competence Development During Lifelong Learning. The Case of Front-Line Employees in Lithuanian Tourism Sector. Vocational Education: Research & Reality, 18, 12-28.

Anderson, D.M., & Stone, C.F. (2005). Cultural Competencies of Park and Recreation Professionals: A Case Study of North Carolina. Journal of Park & Recreation Administration, 23(1), 53-74.

ASEAN Consultative Committee on Standards & Quality. (2021). Guidelines for the Development of Mutual Recognition Arrangements. Retrieved from https://asean.org/wp-content/uploads/2021/08/Guidelines-for-The-Development-of-Mutual-Recognition-Arrangements-rev3-FA.pdf

Association of Southeast Asian Nations. (2018). Handbook of ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Tourism (2nd edition). Retrieved from https://asean.org/wp-content/uploads/2012/05/ASEAN-MRA-TP-Handbook-2nd-Edition-2018.pdf

Association of Southeast Asian Nations. (2021). ASEAN Statistical Yearbook 2021. Retrieved from https://asean.org/wp-content/uploads/2021/12/ASYB_2021_All_Final.pdf

Government Strategic Information Center, National Statistical Office. (2014). Preparation of Thailand for the ASEAN Community. Retrieved from http://ebook.nic.go.th/asean-community/asean-community.pdf

Kalawong, S., Songka, T., Sukeevong, W., & Sanggam, N. (2017). Guidelines for development of tourism professionals according to ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals (MRA on TP). Journal of the Association of Researchers, 22(3), 108-120.

Ng, T. W. H., Sorensen, K.L., Eby, L.T., & Feldman, D.C. (2007). Determinants of job mobility: A theoretical integration and extension. Journal of Occupational & Organizational Psychology, 80(3), 363-386.

Otto, K., & Dalbert, C. (2012). Individual differences in job‐related relocation readiness: The impact of personality dispositions and social orientations. The Career Development International, 17(2), 168-186.

Paitoonpong, S., Tulyawasinpong, S., Akarakul, N., Chaksirinon, M., & Tasee, P. (2010). Project to study the cooperation framework for the development of Thai labor potential in 32 jobs under the ASEAN agreement, proposed to Department of Skill Development, Ministry of Labor. Retrieved from http://research.mol.go.th/2013/rsdat/Data/doc/LGXKVF1.pdf

Sarichun, P. (2009). Center for Vovational Education Promotion and Development, Northern Region: Career characteristics in the field of tourism industry. Retrieved from http://pimporn.nsdv.go.th/commerce/jobsummary/tour.htm

The Official Investment Promotion Website of the Association of Southeast Asian Nations. (2021). ASEAN Mutual Recognition Arrangements. Retrieved from http://investasean.asean.org/index.php/page/view/asean-free-trade-area-arrangements/view/757/newsid/868/asean-mutual-recognition-arrangements.html

The Secretariat of the House of Representatives. (2012). ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Tourism Professionals. Retrieved from https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/327301

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29

How to Cite

ศรีบุญลือ อ., & ศรีบุญลือ อ. (2022). การเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว ต่อข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพอาเซียน มุมมองจากธุรกิจการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 4(1), 73–87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/257842