ศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลวัดคุณภาพการบริการของผู้ให้บริการขนส่ง พัสดุด่วนในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท นิ่ม เอ็กซ์เพรส จำกัด

ผู้แต่ง

  • สมพล ทุ่งหว้า คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รัชชสิทธิ์ เสวกเสนีย์ นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการ, ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วน , ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สองและศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลวัดคุณภาพการบริการของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท นิ่ม เอ็กซ์เพรส จำกัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารบริษัท นิ่ม เอ็กซ์เพรส จำกัด จำนวน 205 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สองของโมเดลวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สอดคล้องกลมกลืนดี โดยมีค่า c2/ df = 0.86 P value = 0.96 RMSEA = 0.00 CFI = 1.00 และ SRMR = 0.04 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า โมเดลมีการแปรเปลี่ยนบางส่วนขององค์ประกอบและตัวแปรสังเกตจาก 7 องค์ประกอบ และ 41 ตัวแปรสังเกต คงเหลือองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ และตัวแปรสังเกต 35 ตัวแปร โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญตามลำดับ ได้แก่ พันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงาน พันธกิจของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วน ความเป็นมืออาชีพ ความครอบคลุมพื้นที่ในการให้บริการ และความรวดเร็วในการขนส่ง 2) องค์ประกอบด้านที่มีความสำคัญ คือ ลำดับที่ 1-4 ได้แก่ พันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงาน พันธกิจของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วน ความเป็นมืออาชีพ และความครอบคลุมพื้นที่ในการให้บริการ โดยเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญในการนำโมเดลวัดไปใช้ เนื่องจากมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรแฝงภายในบนตัวแปรแฝงภายนอก เท่ากับ 0.99 0.91 0.82 และ 0.79 ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบด้านความรวดเร็วในการขนส่ง มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรแฝงภายในบนตัวแปรแฝงภายนอก เท่ากับ 0.64

References

ไทยโจ. (2565). คุณภาพบริการขนส่งพัสดุ. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/

มาร์เก็ตตี้. (2564). ตลาดขนส่งพัสดุเติบโต แต่ละแบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์สปีดหนีคู่แข่งทั้ง ‘ราคา-ความเร็ว’. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/222852

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). โควิดระบาดหนัก กระทบขนส่งสินค้า Online ติดขัดชั่วคราว แต่คาดว่ารายได้ยังคงขยายตัว 19.0% ในปี 2564. สืบค้นจาก https://www. kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Lastmile-Delivery-z3250.aspx

สมพล ทุ่งหว้า. (2564). คุณภาพการบริการและการกำจัดความสูญเสียที่มีอิทธิพลต่อวิถีใหม่ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัตน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

อนันต์ แย้มเยื้อน. (2560). การประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาปริญญาตรี และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด. วารสารวิชาการเซาธ์อีสบางกอก, 3(2), 40-56.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis (7th ed.). Essex, UK: Pearson Education.

Hinkle, D. E., William, W., & Stephen, G. J. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). NY: Houghton Mifflin.

Jimenez, V., Alberto, M., Lopez, L., Adan, D., Arroyo, A., & Apolinar, J. (2019). Application of the SERVQUAL model to evaluate the quality in the transportation service in Morelia, Mexico. DYNA, 86(211), 64-74.

Moore, D. S., Notz, W. I, & Flinger, M. A. (2013). The basic practice of statistics (6th ed.). New York, NY: W. H. Freeman and Company.

Pholsuwanachai, K. (2011). A courier company’s service performance & customer satisfaction. Journal of Supply Chain Management: Research and Practice, 5, 75-93.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30