ศักยภาพการจัดการและกลยุทธ์ทางธุรกิจสู่ความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพรในอำเภอปากช่อง และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รุจิกาญจน์ สานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุภัทริภา ขันทจร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • กรัยสรญ์ ขันทจร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

ศักยภาพการจัดการ , กลยุทธ์ทางธุรกิจ , ความสามารถในการแข่งขันวิสาหกิจชุมชน , ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหา ความต้องการ โอกาส และความสามารถในการแข่งขัน 2) กลยุทธ์ทางธุรกิจ และ 3) ศักยภาพการจัดการของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพรในอำเภอปากช่อง และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 15 คน และวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหา ได้แก่ ความไม่พร้อมการรวมตัวของสมาชิก สภาพเศรษฐกิจและการลงทุน ความรู้เรื่องสมุนไพร ตลาดออนไลน์ และขาดเทคโนโลยี โอกาส ได้แก่ มีผู้สนใจดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรมากขึ้น มีโรงงานผลิตสินค้าสมุนไพรมากขึ้น และวิสาหกิจชุมชนสร้างเครือข่ายมากขึ้น ความต้องการ ได้แก่ การสืบทอดการปลูกสมุนไพรพื้นบ้านแก่คนรุ่นหลัง การสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ และการขายผ่านออนไลน์ 2) กลยุทธ์ทางธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน คือ การบริหารจัดการวิสาหกิจแบบเครือข่าย ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และบริการ มีหลักเกณฑ์มาตรฐานเพื่อรักษาคุณภาพ และ 3) ศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนด้านการจัดการ ได้แก่ (1) การเงิน (2) การผลิต (3) คน (4) บริหารโอกาส (5) บริหารความเสี่ยง วิสาหกิจมีความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ (1) ประสิทธิภาพของความร่วมมือในชุมชนที่เหนือกว่า (2) คุณภาพของสมุนไพรที่เหนือกว่า และ (3) ความรับผิดชอบต่อลูกค้า ชุมชน และสังคม

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2562). สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นจาก https://www.ditp.go.th/ contents_attach/560109/560109.pdf

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). “ตลาดสมุนไพร” เศรษฐกิจหลักของไทย. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/914569

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2561-2565 ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สืบค้นจาก https://www2.nakhonratchasima.go.th/files/com_ebook_strategy/2021-01_19b94a737301757.pdf

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2564). รายงานสรุปประเภทกิจการวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จำแนกตามพื้นที่. ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นจาก http://smce.doae.go.th/smce1/report/ select_report_smce.php?report_id=17

จรีพร จารุกรสกล. (2561). การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยตามนโยบาย ประเทศไทย 4.0. สืบค้นจาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/ doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8356e/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf

พัฒนา ศิริโชติบัณฑิต. (2553). การศึกษาการเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสมกับองค์กรธุรกิจไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วสนันทน์ ศิริเลิศสกุล. (2556). ศักยภาพการจัดการที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรชาวนาในเขตอำเภอ บางเลน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). สมุนไพรไทย โอกาสธุรกิจ...ที่ต้องคว้าไว้. สืบค้นจาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Herb-FB-25-11-20.aspx

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). กิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2563. สืบค้นจาก http://www.sme-cluster.rmutt.ac.th/sme-2563/

อภิชาติ ศรีสอาด และ อัมพา คำวงษา. (2555). คู่มือการปลูกมันสำปะหลังยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: นาคา อินเตอร์มีเดีย.

อภิสรา ชุ่มจิตร, นิศา ชัชกุล และ เครือวัลย์ ชัชกุล (2557). การพัฒนาศักยภาพการจัดการธุรกิจชุมชน กรณีศึกษา: ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 10(2), 94-134.

อาทิช แซ่ลี้ และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ. (2558). ศักยภาพการจัดการธุรกิจและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ ผู้ประกอบการไร่สําปะหลัง อําเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 4(2), 1-12.

Abdulwase, R., Ahmed, F., & Nasr, F. (2020). The role of business strategy to create a competitive advantage in the organization. Open Access Journal of Science, 4(4), 135-138.

Courtney, H. (1998). What is business strategy?. World Economic Affairs: Spring.

Kamath, M., Brijesh, K., & Mallya, S. V. (2018). Online marketing of herbal medicines issues and concerns: A SWOT analysis. Research Journal of Pharmacy and Technology, 11(11), 5058-5060.

Kourdi, J. (2018). Business Strategy: A Guide to Effective Decision-Making. Public Affairs

Lestari, S. D., Leon, F. M., Widyastuti, S., Brabo, N. A., & Putra, A. H. P. K. (2020). Antecedents and consequences of innovation and business strategy on performance and competitive advantage of SMEs. The Journal of Asian Finance, Economics, and Business, 7(6), 365-378.

Pereira, L., Pinto, M., Costa, R. L. D., Dias, Á., & Gonçalves, R. (2021). The new SWOT for a sustainable world. Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity, 7(1), 18

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

How to Cite

สานนท์ ร., ขันทจร ส. . ., & ขันทจร ก. . . (2022). ศักยภาพการจัดการและกลยุทธ์ทางธุรกิจสู่ความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพรในอำเภอปากช่อง และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 4(2), 84–96. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/256266