อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการต่อการตัดสินใจ เลือกชมภาพยนตร์ ในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์, การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ , การตัดสินใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ ในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) ศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ ในจังหวัดนครปฐม ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลออนไลน์จากผู้ที่เคยชมภาพยนตร์ ในจังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ที่ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเที่ยง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบองค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผ่านการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ ในจังหวัดนครปฐม มีความแตกต่างกันตามประสบการณ์ชมภาพยนตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ความภักดีต่อการชมภาพยนตร์เกิดจากอิทธิพลทางรวมของการตัดสินใจชมภาพยนตร์ (TE = 0.798) และการสื่อสารทางการตลาดเชิงกว้าง (TE = 0.337) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 48.90 และการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ ได้รับอิทธิพลรวมจากการสื่อสารการตลาดในเชิงลึก (TE = 0.336) และการสื่อสารการตลาดในเชิงกว้าง (TE = 0.320) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 64.70
References
ภาพลักษณ์องค์กรและคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารออมสินในสังกัดเขตสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนภรณ์ ฌายีเนตร และรัชนีกร แซ่วัง. (2562). แนวโน้มการชมภาพยนตร์ในสังคมไทย. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10 (น. 1055-1066). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ภานุ อารี. (2563). บทวิเคราะห์ทางออกธุรกิจโรงภาพยนตร์ เมื่อพร้อมแล้วโรงอาจจะต้องปรับราคาให้ถูกลง. สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/theatre-strategy/
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และปณิศา มีจินดา. (2554). กลยุทธ์การตลาดและการวางแผน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สรรค์ชัย กิติยานันท์, สุทธิพจน์ ศรีบุญนาค, สุภัตรา กันพร้อม และมานิต คำเล็ก. (2563). การสื่อสารทางการตลาดเชิงบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 201-215.
สรวิทย์ งามสุทธิ, ประทานพร จันทร์อินทร์ และศรัญญา รักสงฆ์. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อความอยู่รอดทางการตลาดของธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นในประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 8(2), 230-247.
สุภาวรรณ สอนสวัสดิ์. (2564). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อสร้างความภักดีในตราสินค้าของผู้บริโภคชิ้นส่วนไก่ในภูมิภาคตะวันตก. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(1), 136-150.
อรวรรณ สุทธิพงศ์สกุล และสมชาย เล็กเจริญ. (2563). อิทธิพลของประสบการณ์และความพึงพอใจที่มีผลต่อความภักดีและการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ในการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 13(2), 100-114.
Armstrong, G., & Kotler, P. (2007). Marketing: An introduction (7th ed). NJ: Prentice Hall.
Belch G.E., & Belch M.A. (2007). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective (7th ed.). Boston, MA: McGraw-Hill Irwin.
Blakeman, R. (2018). Integrated Marketing Communication Creative Strategy from Idea to Implementation (3rd ed.). New York. Rowman and Littlefield.
Boora, K. K., & Singh, H. (2011). Customer loyalty and its antecedents: A Conceptual framework. Asia Pacific Journal of Research in Business Management, 2(1), 151-164.
Cornelissen, J. P. (2001). Integrated marketing communications and the language of marketing development. International Journal of Advertising, 20(4), 483-498.
Hair, J. F., Jr. Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: Global Edition (7th Ed.). NY: Pearson Prentice Hall.
Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice –Hall.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2010). Principles of Marketing (14th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2006). Marketing management (12th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Kotler, P., Keller, K. L., Brady, M., Goodman, M., & Hansen, T. (2009). Marketing Management. (Illustrated, reprint). Pearson Prentice Hall.
Kumar, V. (2020). Global implications of cause-related loyalty marketing. International Marketing Review, 37(4), 747-772.
Lyon, D. (2018). The culture of surveillance: Watching as a way of life. UK: Polity Press.
Pong, L. T., & Yee, T. P. (2001). An integrated model of service loyalty. Retrieved from http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.199.1430&rep=rep1&type=pdf
Schultz, D. & Schultz, H. (2007). IMC The Next Generation: Five Steps for Delivering value and Measuring Returns Using Marketing Communication. Evanston, Illinois.
Tantiana, M. L. (2021). The use of media relations as a tool of marketing public relations at Visinema Pictures in promoting the movie. Bachelor thesis, Universitas Pelita Harapan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น