รูปแบบองค์กรเพื่อจำหน่ายสินค้านวัตกรรม ของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษาสู่เชิงพาณิชย์
คำสำคัญ:
รูปแบบองค์การ, นวัตกรรม, เชิงพาณิชย์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสร้างภาพในอนาคตขององค์การ เพื่อจำหน่ายสินค้านวัตกรรมของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษาสู่เชิงพาณิชย์ เป็นการวิจัยเชิงอนาคตศึกษา โดยใช้เทคนิค EFR (Ethnographic Future Research) การฉายภาพอนาคต รวมถึงการสำรวจความคิดเห็น ร่วมกับการวิจัยเอกสาร ผู้ให้ข้อมูลหลักใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้บริหารภาคเอกชน ผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดองค์กรภาครัฐ จำนวน 14 คน กลุ่มที่ 2 ตัวแทนอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานของนักเรียนที่ส่งผลงานเข้าประกวด “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” สิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ ระดับชาติ จำนวน 7 คน กลุ่มที่ 3 ตัวแทนนักเรียนอาชีวศึกษาที่ส่งผลงานเข้าประกวด “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” สิ่งประดิษฐ์ คนรุ่นใหม่ ระดับชาติ จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ 4 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดตั้งองค์กรเพื่อจำหน่ายสินค้า และนวัตกรรมของนักเรียนในระดับอาชีวศึกษาสู่เชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย ครูอาจารย์ นักเรียน ผู้ประกอบการ ประชาชน จำนวน 250 คน ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบองค์กรเพื่อจำหน่ายสินค้านวัตกรรมของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษาสู่เชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย 1) นโยบายและการนำองค์การ 2) ความสามารถบุคลากรและองค์การ 3) กิจกรรมแบบองค์รวมเชิงประกอบการ 4) ความคล่องในการปฏิบัติงาน และ 5) ประสิทธิผลขององค์การ
References
ณัฐวัชร จันทโรธรณ์ และพงษ์ศักดิ์ พัวพรพงษ์. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 9(2), 1-9.
ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ และปรีชา วิหคโต. (2563). การพัฒนาระบบการบริหารสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาสู่เชิงพาณิชย์ ในยุคดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์ม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 459-473.
ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ. (2562). การบริหารสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาสู่เชิงพาณิชย์ในยุคดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์ม. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 4(1), 6-13.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพ ฯ : สุวีริยาสาสน์.
พลฤทธิ์ จินดาหลวง. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปางด้วยหลักธรรมาภิบาล (รายงานการวิจัย). ลำปาง: วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง.
สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. (2557). คู่มือการดำเนินงานสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.
สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. (2563). Thaiinvention. สืบค้นจาก http://thaiinvention.net/
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวชัช พิทักษ์ทิม. (2560). การสร้างจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการภายในองค์การของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
อัจจิมา ศุภจริยาวัตร. (2560). รูปแบบโครงสร้างองค์การการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี และการจัดการที่ทำให้สินค้าโรงเรียนประชารัฐสามารถจำหน่ายได้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).
Chiu, S-K. & Chang. K.F. (2009). Organizational structure, support mechanism, and commercialization performance A governance perspective. International Journal of Commerce and Management, 19(3), 183-194.
Datta, A., Reed, R., & Jessup, L. (2013). Commercialization of innovations: an overarching framework and research agenda. American Journal of Business, 28(2), 147-191.
Dhliwayo, S. (2010). The Entrepreneurial Organization. Frontiers in Entrepreneurship. Springer Heidelberg Dordrecht London New York.
Guest, G., Bunce, A., & John, L. (2006). How many interviews are enough?: An experiment with data saturation and variability. Field Methods, 18(11), 59-82.
Kim, S. K., Lee, B.G., Park, B.S. & Oh, K.S. (2011). The effect of R &D, technology commercialization capabilities and innovation performance. Technological and Economic Development of Economy, 17(4), 563-578.
Metaprofiling. (2013). The Entrepreneurial Organization: What it is and why it is matters. Metaprofiling Ltd.
Morse, J.M. (1994). Designing funded qualitative research. In N.K. & Y.S. Lincoln (Eds), Handbook for Qualitative Research (2nd ed.), 220-235.
Perkmann, M., Tartari, V., Mckelvey, M., Autio, E., Brostrom, A., D’Este, P., Fini, R., Geuna, A., Grimaldi, R., & Hughes, A. (2013). Academic engagement and commercialization: A review of the literature on university-industry relation. Research Policy, 42(2), 423-442.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น