ผลได้ของวิสาหกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
ผลได้, วิสาหกิจชุมชน, การท่องเที่ยว, สระแก้วบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลได้จากการมีส่วนร่วมในวิสาหกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยว 2) การกระจายรายได้และวิถีความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว และ 3) ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว โดยการวิจัยผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 100 แห่ง ด้วยวิธีการการสัมภาษณ์เชิงลึกและการใช้แบบสอบถาม
ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลได้จากการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิตรายเดียว กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่เป็นเจ้าของรายเดียว และกลุ่มผู้ผลิตวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่อยู่ในรูปของผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ตัวแทน ที่จำหน่ายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองสูงที่สุด รองลงมาคืออำเภออรัญประเทศ อำเภอวังน้ำเย็น และน้อยที่สุดคืออำเภอตาพระยา 2) การจ้างแรงงานของวิสาหกิจชุมชน พบว่า ไม่มีการจ้างแรงงานประจำ จะเป็นการจ้างแรงงานเป็นครั้งคราว และ 3) ปัญหาและอุปสรรคพบว่า มีแผนการดำเนินงานที่ไม่ชัดเจน นอกจากนี้ยังขาดวิสัยทัศน์ในการสร้างช่องทางการตลาด และที่สำคัญคือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อขยายการผลิตนั้นยากยิ่งในปัจจุบัน
References
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2557). รายงานผู้ผลิต ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ปี พ.ศ. 2557 จังหวัดสระแก้ว. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). รายงานสรุปประเภทกิจการของวิสาหกิจชุมชนที่อนุมัติการจดทะเบียนแล้ว จำแนกตามพื้นที่ ระดับจังหวัด (สระแก้ว), ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นจาก http://smce.doae.go.th/smce1/report/select_report_smce.php?report_id=17
จังหวัดสระแก้ว. (2564). ข้อมูลจังหวัดสระแก้ว. สืบค้นจาก http://www.sakaeo.go.th/websakaeo/content/general
ดนัยเทพ ศรีธัญรัตน์. (2549). การวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลของนโยบาย โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ตามแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พรจิต สมบัติพานิช, ชวนะ ภวกานันท์ และอุบลวรรณา ภวกานันท์. (2546). การประเมินโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ: บริษัท ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน).
มาลินี ศรีไมตรี. (2559). การพัฒนารูปแบบและศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่นสู่นักท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 11(2), 53-65.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์และความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2560. สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?filename=social&nid=10855
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). 8 สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน, จำนวนคนจน (ด้านรายจ่าย) จำแนกเป็นรายภาคและจังหวัด พ.ศ. 2553-2562. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx
Frechtling, D. C., & Horváth, E. (1999). Estimating the multiplier effects of tourism expenditures on a local economy through a regional input-output model. Journal of travel research, 37(4), 324-332.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Oba, U. O., & Onuoha, B. C. (2013). The role of small and medium scale enterprises in poverty reduction in Nigeria: 2001–2011. African Research Review, 7(4), 1-25.
Peredo, A. M., & Chrisman, J. J. (2006). Toward a theory of community-based enterprise. Academy of management Review, 31(2), 309-328.
Valeepitakdej, V., & Wongsurawat, W. (2015). Can top-down community enterprise development reduce poverty and out-migration? Evidence from Thailand. Development in Practice, 25(5), 737-746.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น