ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับมูลค่ากิจการ กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา ศรีบุญเรือง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • จิราพัชร สุทธิ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การวางแผนภาษี, มูลค่ากิจการ, อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ มีกลุ่มตัวอย่างที่มีข้อมูลครบจำนวน 138 บริษัท ระหว่างปีพ.ศ.2559-2560 ยกเว้นบริษัทในกลุ่มการเงิน โดยเก็บข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี และข้อมูลหลักทรัพย์ในตลาดเอ็ม เอ ไอ ด้านการวางแผนภาษี ซึ่งศึกษาจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง อัตราส่วนภาษีต่อกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน และอัตราส่วนภาษีต่อสินทรัพย์รวม งานวิจัยนี้ศึกษามูลค่ากิจการจะศึกษาจาก ตัววัดค่า Tobin’s Q  อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนต่อยอดขาย และอัตรากำไรต่อหุ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการศึกษาพบว่า การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่วัดจากอัตราส่วนภาษีต่อสินทรัพย์รวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 0.8 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับมูลค่าธุรกิจ แต่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 สำหรับการวางแผนภาษีที่วัดจากอัตราส่วนภาษีต่อกระแสเงินสด มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 37.2 และไม่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าธุรกิจ และการวางแผนภาษีที่วัดจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.70 และไม่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าธุรกิจ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

References

ชฎิล โรจนานนท์. (2549). สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งเสริม FDI ของไทย: การศึกษาโดยใช้อัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tax Rate). ใน งานสัมมนาวชาการประจำปีของสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 3 (น.1-5). กรุงเทพฯ: โรงแรมโซฟิเทล.

ธัญพร ตันติยวรงค์. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนภาษีและความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับมูลค่ากิจการ: หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

มนวิภา ผดุงสิทธิ์. (2548). การประเมินผลการปฏิบัติงานตามแนวคิด Tobin-Tobin’s Q. วารสารบริหารธุรกิจ, 28(106), 13-22.

สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2557). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการ การบริหารกำไรและการวางแผนภาษีที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2558). การกำกับดูแลกิจการที่ดีมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานผ่านการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยางแผนภาษีกับมูลค่ากิจการ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(2), 105-113.

สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2561). ผลกระทบของการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลกับมูลค่ากิจการ : หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(2), 42-57.

สุเทพ พงษ์พิทักษ์. (2561). การวางแผนภาษีอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน. สืบค้นจาก https://sme.krungthai.com/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=9&itemId=135

อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์. (2555). กลยุทธ์การวางแผนภาษีชั้นสูง. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์ 50.

อัครวิชช์ รอบคอบ. (2558). การวางแผนภาษีอากร Tax Planning (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์ The Print House.

Abarbenell, J., & B. Bushee. (1997). Fundamental analysis, future earnings, and stock prices. Journal of Accounting Research, 35(1), 1-24.

Brou, D., & Collins, K. A. (2001). Winning at hide and seek: the tax mix and the informal economy. Can. Tax J., 49, 1539.

Chen, Z., Cheok, C. K., & Rasiah, R. (2016). Corporate Tax Avoidance and Performance: Evidence from China’s Listed Companies. Institutions and Economies, 8(3), 61-83.

Chung, K, H., & Pruitt, S. W. (1994). A Simple Approximation of Tobin’s q. Financial Management, 23(3), 70-74.

Graham, J. R., Hanlon, M., Shevlin, T., & Shroff, N. (2014). Incentives for tax planning and avoidance: Evidenc from the field. The Accounting Review, 89(3), 991-1023.

Hoffman, W. H. (1961). The theory of tax planning. The accounting review, 36(2), 274-281.

Kim, K. A., & Limpaphayom, P. (1998). Taxes and firm size in Pacific-Basin emerging economies. Journal of international accounting, auditing and taxation, 7(1), 47-68.

Lestari, N., & Wardhani, R. (2015). The Effect of the TaxPlanning to Firm Value with Moderating Board Diversity. International Journal of Economics and Financial Issues, 5(Special Issue), 315-323.

Lev, B., & Thiagarajan, S.R. (1993). Fundamental Information Analysis. Journal of Accounting Research, 31(2), 190-215. http://dx.doi.org/10.2307/2491270

McGuire, Randall H. (2008). Archaeology as Political Action. Berkeley, CA: University of California Press.

Zimmerman, J. L. (1983). Taxes and firm size. Journal of accounting and economics, 5, 119-149.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30