การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของชุมชนแห่งหนึ่งใน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพ, การท่องเที่ยวชุมชน, เครือข่ายความร่วมมือ, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เครือข่ายทางสังคมของชุมชน 2) การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน และ 4) การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนแห่งหนึ่งใน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก กับสมาชิกของชุมชน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 7 คน เครื่องมือในการวิจัย แบบบันทึกการสังเกตและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) เครือข่ายทางสังคมชุมชน ประกอบด้วย ระดับของความสัมพันธ์ของแต่ละบุคคล ระดับความสัมพันธ์ของกลุ่มในพื้นที่ ระดับความสัมพันธ์ของสังคม และระดับความสัมพันธ์ของโลก 2) การพัฒนาการท่องเที่ยว ประกอบด้วย สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว การเข้าถึงชุมชน สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยว กิจกรรมที่มีให้ทำในชุมชน และบริการเสริมอื่น ๆ 3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม ความเป็นเจ้าของทรัพยากรนและความรับผิดชอบ นวัตกรรม ทรัพยากรและผลประโยชน์ ผู้นำ และพันธมิตร และ 4) การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านเครือข่ายทางสังคมของชุมชน องค์ประกอบด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน และองค์ประกอบด้านปัจจัยแห่งความสำเร็จเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน โดยทำการบูรณาการทำงานร่วมกัน
References
กรมการปกครอง. (2563). จำนวนประชากร, ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน, สำนักบริหารการทะเบียน, กรมการปกครอง. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php
กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย. (2547). รายงานการวิจัยสถานการณ์เครือข่ายด้านเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษณ์เด็ก เยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดเชียงใหม่. (2563). หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนและโฮมสเตย์ แม่กำปอง, เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน, มหาวิทยาลัยพายัพ, จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://cbtchiangmai.org/detail.php?id=4
จิราภรณ์ บุญยิ่ง. (2562). การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนโดยแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 87-94.
ดวงพร อ่อนหวาน และคณะ. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จของธุรกิจชุมชนในเขตภาคเหนือ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42: สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาคหกรรมศาสตร์ (น. 359-366). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วีระพล ทองมา. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในเขตที่ดินป่าไม้, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่. สืบค้นจาก www.dnp.go.th/fca16/file/i49xy4ghqzsh3j1.doc
ศศิเพ็ญ พวงสายใจ, วัชรี พฤกษิกานนท์, พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์, สุขุม พันธุ์ณรงค์ และพิมลพรรณ บุญยะเสนา. (2554). การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ยังไม่ได้เผยแพร่ในเขตภาคเหนือ. CMU Journal ECON, 15(2), 1-25.
ศุภมาส แหวนวิเศษ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมนต้นแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารธรรมศาสตร์, 36(1), 66-95.
สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 1-24.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2558). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism Thailand (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพ้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. (2563). หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บ้านแม่กำปอง. สืบค้นจาก http://www.chiangmaipao.go.th/tourism/place_detail.php?id=167&area=41
Boissevain, J. (1974). Friends of friends: Networks, manipulators and coalitions. St. Martin's Press.
Boyd, D. M., & Ellison, N. B. (2007). Social network sites: Definition, history, and scholarship. Journal of computer-mediated communication, 13(1), 210-230.
Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination of the future. Tourism management, 21(1), 97-116.
Dijk, J.V. (2006). The network society. London: SAGE Publications.
Dodds, R., Ali, A., & Galaski, K. (2018). Mobilizing knowledge: Determining key elements for success and pitfalls in developing community-based tourism. Current Issues in Tourism, 21(13), 1547-1568.
Marin, A., & Wellman, B. (2011). Social network analysis: An introduction. The SAGE handbook of social network analysis, 11-25.
Miles, R. E., & Snow, C. C. (1995). The new network firm: A spherical structure built on a human investment philosophy. Organizational dynamics, 23(4), 5-18.
Nitikasetsoontorn, S. (2015). The success factors of community-based tourism in Thailand. NIDA Development Journal, 55(2), 24-58.
Richards, G., & Wilson, J. (2006). Developing creativity in tourist experiences: A solution to the serial reproduction of culture?. Tourism management, 27(6), 1209-1223.
Wasserman, S., Faust, K., & Faust, K. (1994). Social Network Analysis. Structural Analysis in the Social Sciences.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น