การจัดการ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ของโรงเรียนดนตรียามาฮ่า อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา รักธรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รุจิกาญจน์ สานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การจัดการ, สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ, การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน, โรงเรียนดนตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การจัดการ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันโรงเรียนดนตรียามาฮ่า อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร ครู และพนักงานของโรงเรียนดนตรียามาฮ่า อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาสรุปผลการศึกษาแบบพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนดนตรียามาฮ่ามีรูปแบบการบริหารจากผู้บริหารระดับสูงลงไปสู่ระดับล่าง โดยโรงเรียนดนตรียามาฮ่ามีทีมครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในสายอาชีพดนตรีเป็นจำนวนมากจึงทำให้มีข้อได้เปรียบทั้งความน่าเชื่อถือและคุณภาพในหลักสูตร ทำให้สามารถสร้างโรงเรียนดนตรียามาฮ่าที่มีคุณภาพและมีความแตกต่างอย่างโดดเด่น นอกจากนี้การบริหารจัดการภายในด้านบุคลากรและความสามารถของบุคลากรพบว่า โรงเรียนดนตรียามาฮ่าเน้นการมีส่วนร่วมในการทำงาน ดูแลช่วยเหลือกันเหมือนบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ผู้ประกอบการต้องหาวิธีการแข่งขันที่แตกต่างจากโรงเรียนดนตรีแห่งอื่น เช่น การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมากขึ้น เจาะลูกค้าหลายระดับมากขึ้น และเน้นความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโรงเรียนสอนดนตรีตามความต้องการของลูกค้า โดยมุ่งเน้นการแข่งขันด้วยคุณภาพด้านการเรียนการสอนการให้บริการเป็นสำคัญ และควรมีการวางแผนทางการตลาดให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน

References

กรกนก สร้อยอินทร์. (2551). โครงการจัดตั้งโรงเรียนสอนดนตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

กิตติพร แซ่แต้. (2560). การศึกษาองค์ประกอบทางธุรกิจสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ โรงเรียนดนตรีในประเทศไทย. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเซนจอห์น).

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.

ณัฏฐ์ธชัย โพธิ์ทองนาค.(2558). แผนธุรกิจสถาบันสร้างสรรค์และพัฒนาศิลปินและวงดนตรีภายใต้ชื่อ Mixhead Music Space. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ณธีพัฒน์ วชิรชัยเกียรติ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกเรียนดนตรีสากลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ธนภัทร กันทาวงศ์. (2559). เอกสารประกอบการสอนสภาพแวดล้อมของการบริหารกับการพัฒนาองค์การ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พะยอม วงศ์สารศรี. (2545). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุภา.

เพ็ญสุข เกตุมณี, วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล, สิริลักษณ์ ทองพูน, และกอแก้ว จันทร์กิ่งทอง. (2561). ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุค Thailand 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(4), 245-256.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2556). สถิติโรงเรียนเอกชน. สืบค้นจาก http://sites.google. com/a/ opec.go.th/opes/sthiti-rongreiyn-xekchn

Gaskell, G. (2000). Individual and group interviewing. Qualitative researching with text, image and sound, 38-56.

Griffin, R. W. (1999). Management (6th ed.). Boston, MA: Houghton Mifflin Company.

Gulick, L., & Urwick, L. (1937). POSDCORB. New York: Institute of Professional Administration.

Hill, C. W., & Jones, G. R. (2011). Essentials of strategic management. USA: Nelson Education.

Henry Fayol, F. (1966). Administration industrielle et generale: Prevoyance, organisation, commandement, coordination, controle. Paris: Dunod.

Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage. New York: Free Press.

Spire, R. L., Rich, G. A., & Stanton, W. J. (2008). Management of a sales force (12th ed.). New York: McGraw-Hill.

Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2006). Strategic management and business policy (10th ed.). Essex, United Kingdom: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-07