ระดับของการรายงานเพื่อความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ แทนมณี โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จังหวัดสมุทรสาคร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นิภา รุ่งเรืองวุฒิไกร โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จังหวัดสมุทรสาคร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ระดับการรายงาน, รายงานประจำปี, ความยั่งยืน, รายงานความยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับของการรายงานเพื่อความยั่งยืน ของกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามแบบประเมินความยั่งยืนของตลาดของหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใช้กลุ่มตัวอย่าง 17 บริษัท ซึ่งทุกบริษัทผ่านเกณฑ์คัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการเข้าร่วมประเมินความยั่งยืนรางวัล SET Sustainability Awards ประจำปี 2560 ซึ่งการเก็บข้อมูลใช้ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2559 หรือแบบ 56-2 ปี 2559 เป็นหลัก รวมถึง รายงานความยั่งยืน และรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้แบบประเมินความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวัดระดับของการรายงานเพื่อความยั่งยืนใช้ดัชนีการเปิดเผยข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า ระดับของการรายงานเพื่อความยั่งยืนตามแบบประเมินความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทั้ง 3 มิติ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม อยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 64.71 และอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 35.29 ผลงานการวิจัยสามารถเป็นแนวทางในการจัดทำรายงานประจำปี รายงานความยั่งยืน และรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึงเพื่อเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนต่อไป งานวิจัยในอนาคตสามารถใช้คำถามในแบบประเมินความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อศึกษาระดับของการรายงานเพื่อความยั่งยืน

References

จรัญญา อนันตชัย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างรายงานความยั่งยืนและมูลค่าของกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐิติมา กิ่งแก้ว (2554). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมตามความสมัครใจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฑริยา พงษ์พันธ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาลขององค์กรกับผลประกอบการทางการเงินของบริษัทหมวดธุรกิจพลังงานที่อยู่ในดัชนี SET 50. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิธิภักดิ์ ปินตา. (2559). ผลกระทบของรายงานความยั่งยืนต่อผลการดำเนินงานขององค์กร สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(6), 112-126.

ปทุมพร หิรัญสาลี. (2557). การรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการใน 56-1: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

วิริยา จงรักษ์สัตย. (2561). การเปิดเผยข้อมูลทางสังคมและสิ่งแวดล้อมตามกรอบการจัดทำรายงานของ GRI: กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มดัชนีเซท 100. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(17), 1-22

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). สร้างองค์กรยั่งยืน ด้วยกรอบการรายงานระดับโลก GRI. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562 จาก https://www.thaicsr.com/2013/06/gri.html

อรุณี ตันติมังกร และ ศุภกร เอกชัยไพบูลย์. (2560). GRI Standards: จากการรายงานสู่เครื่องมือการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 จากhttps://www.set.or.th/sustainable_dev/th/sr/knowledge/files/articles/2017_vol2_03_GRIstandard.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-26

How to Cite

แทนมณี ว., & รุ่งเรืองวุฒิไกร น. (2019). ระดับของการรายงานเพื่อความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(1), 53–64. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/248592