การพัฒนาศักยภาพทางการตลาดออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วรวุธ ลีลานภาศักดิ์ สมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รุจิกาญจน์ สานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุภัทริภา ขันทจร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

การตลาดออนไลน์, วิสาหกิจชุมชน, ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ, นครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา โอกาส อุปสรรค และความต้องการของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา และ 3) ศึกษาการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ในวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จาก 5 ตำบลในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 7 คน เครื่องมือในการวิจัยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง

ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านสภาพปัญหา ได้แก่ ปัญหาเรื่องสังคม การคิดค้นผลิตภัณฑ์ และการทำการตลาด ด้านโอกาส ได้แก่ มีจุดขายและสามารถต่อยอด คนไทยเริ่มนิยมผ้าไทย และสามารถสร้างโอกาสผ่านเครือข่าย ด้านอุปสรรค ได้แก่ การสื่อสาร ขาดแรงจูงใจจากเยาวชน และด้านความต้องการ ได้แก่ สืบสารงานทอผ้า ขายสินค้าด้วยคุณค่าที่มี และพัฒนาตลาดออนไลน์ 2) คุณภาพชีวิต พบว่า มีสภาพความเป็นอยู่กับรายได้สามารถดำรงตนได้อย่างดี ผลผลิตหรือกิจกรรมหลักได้แก่ภาคการเกษตรและการทอผ้า สุขภาพของสมาชิกที่ดีทั้งกายและใจ การศึกษาไม่ใช่ข้อจำกัดความมุ่งมั่นตั้งใจคือแรงขับเคลื่อน การพักผ่อนและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบแบ่งปันมีอยู่มาก ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความปลอดภัยทางกายภาพ การกำกับดูแลและสิทธิขั้นพื้นฐาน คือ การสนับสนุนจากรัฐ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและการดำรงชีวิตแบบไร้สาร และประสบการณ์ของชีวิตถ่ายทอดด้วยภูมิปัญหาท้องถิ่น และ 3) การตลาดออนไลน์ พบว่า ขาดการดำเนินการตลาดแบบออนไลน์แต่มีการตลาดแบบดั้งเดิม

References

จังหวัดนครราชสีมา. (2563). ข้อมูลอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นจาก https://www2.nakhonratchasima.go.th/frontpage

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์ แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซชิ่ง.

Eurostat. (2020). Quality of life indicators-measuring quality of life. Retrieved from https://ec.europa.eu/eurostat/statistics-explained/pdfscache/30610.pdf

Gaskell, G. (2000). Individual and group interviewing. In M. W. Bauer and G. Gaskell (Eds.), Qualitative researching with text, image and sound: A practice handbook (pp. 38-56). Thousand Oaks, CA: Sage.

Kaur, K. (2016). Social media marketing: a tool to achieve competitive advantage. ACADEMICIA: An International Multidisciplinary Research Journal, 6(4), 334-344.

Kim, A. J., & Ko, E. (2012). Do social media marketing activities enhance customer equity? An empirical study of luxury fashion brand. Journal of Business research, 65(10), 1480-1486.

Koratdaily. (2561). ผ้าไหม “สีดา” ชนะเลิศตรานกยูงพระราชทาน. สืบค้นจาก http://koratdaily.com/blog.php?id=8025

KNATION. (2552). จังหวัดนครราชสีมา (Nakhonratchasima) อำเภอสีดา (Amphoe Sida). สืบค้นจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2009/03/01/entry-27

Naidoo, V. (2010). Firm survival through a crisis: The influence of market orientation, marketing innovation and business strategy. Industrial marketing management, 39(8), 1311-1320.

Naik, P. A., & Peters, K. (2009). A hierarchical marketing communications model of online and offline media synergies. Journal of Interactive Marketing, 23(4), 288-299.

Nieves, J., & Diaz-Meneses, G. (2016). Antecedents and outcomes of marketing innovation: An empirical analysis in the hotel industry. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 28(8), 1554-1576.

O'dwyer, M., Gilmore, A., & Carson, D. (2009). Innovative marketing in SMEs. European Journal of Marketing.

Sabbaghi, A., & Vaidyanathan, G. (2004). SWOT analysis and theory of constraint in information technology projects. Information systems education journal, 2(23), 3-19.

Wallace, Sharon. (1974). Identification of quality of life indicators for use in family planning programs in developing countries, Dissertation. Retrieved from https://www.worldcat.org/title/identification-of-quality-of-life-indicators-for-use-in-family-planning-programs-in-developing-countries/oclc/519491659#relatedsubjects

Widjajanti, K. (2015). Marketing collaboration and SME strategy implementation in Blora, Indonesia. ASEAN Marketing Journal, 7(1), 28-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30