การสร้างสรรค์ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการจัดการนวัตกรรม ที่พยากรณ์ความสำเร็จในงาน

ผู้แต่ง

  • ฐิติมา พูลเพชร สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์, การจัดการนวัตกรรม, ความสำเร็จในงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสร้างสรรค์ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการจัดการนวัตกรรมที่พยากรณ์ความสำเร็จในงานของพนักงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างสรรค์ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการจัดการนวัตกรรมของกับความสำเร็จในงานพนักงาน และ 3) เพื่อพยากรณ์ความสำเร็จในงานด้วยการสร้างสรรค์ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการจัดการนวัตกรรมของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 354 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ประการที่ 1) การสร้างสรรค์ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก การจัดการนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างแนวความคิดใหม่และการพัฒนาแนวความคิดสร้างสรรค์ ประการที่ 2) การสร้างสรรค์ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการนวัตกรรมด้านการสร้างแนวความคิดใหม่ และการจัดการนวัตกรรมด้านการพัฒนาแนวความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสำเร็จในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และประการที่ 3) การสร้างสรรค์ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการนวัตกรรมด้านการสร้างแนวความคิดใหม่ และการจัดการนวัตกรรมด้านการพัฒนาแนวความคิดสร้างสรรค์ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จในงานร่วมร้อยละ 82.5 โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบดังนี้ความสำเร็จในงาน = .188 (ค่าคงที่) + .214 (การสร้างสรรค์ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์) + .325 (การจัดการนวัตกรรมด้านการสร้างแนวความคิดใหม่) + .358 (การจัดการนวัตกรรมด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์)

References

ฐิติมา พูลเพชร, จิราวรรณ คงคล้าย, และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2560). ภาวะผู้นํา รูปแบบการทํางานของพนักงานกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 202-220.

ปิยะพงษ์ วรรณกูลพงศ์. (2553). การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและแรงจูงใจในการทำงานระหว่างนักธุรกิจอิสระที่ประสบความสำเร็จในอาชีพระดับสูงและต่ำ: กรณีศึกษาบริษัท ยูนิซิตี้ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Anning-Dorson, T. (2017). Innovation development in service firms: A three-model Perspective. Journal of Operations and Service Management, 28(1), 64-80.

Carolina, K. P., & Giancarlo, G. (2016). Innovation culture and performance in innovation of products and processes: a study in companies of textile industry. RAI Revista de Administração e Inovação, 13, 285–294.

Christiansen, J. A. (2000). Competitive innovation management: Techniques to improve innovation performance. New York: St. Martin's Press.

Devika, N., & Sharifah, L. S. A. K. (2016). Measuring Business Process Management using business process orientation and process improvement initiatives. Business Process Management Journal, 22(6), 1069-1078.

Do, B.-R., Yeh, P.-W., & Madsen, J. (2016). Exploring the relationship among human resource flexibility, organizational innovation and adaptability culture. Chinese Management Studies, 10(4), 657-674.

Harbi, S., Anderson, A. R., & Amamou, M. (2013). Innovation culture and the economic performance of Tunisian ICT firms. International Journal of Entrepreneurship and Innovation Management, 16(3), 191-208.

Kangyin, L., Jinxia, Z., & Haijun, B. (2015). High-performance human resource management and firm performance: The mediating role of innovation in China. Industrial Management & Data Systems, 115(2), 353-382.

Wheatley, M. J. (2002). We Are All Innovators. In: Leading for Innovation and Organizing for Results. (M. G. a. I. S. Frances Hesselbein Ed.). SanFrancisco: Jossey- Bass

Yamane, (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rd Ed.New York.

Zlatko, N., & Vojko Potocan. (2013). The role of management innovativeness in modernorganizations. Journal of Enterprising Communities: People and Places in the Global Economy, 7(1), 36–49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30

How to Cite

พูลเพชร ฐ. (2019). การสร้างสรรค์ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการจัดการนวัตกรรม ที่พยากรณ์ความสำเร็จในงาน. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(3), 51–61. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/247675