การรับรู้ในมิติความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการจัดการการบริการ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลางของธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อุทัยรัตน์ เมืองแสน วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การบริการนักท่องเที่ยว, มิติทางวัฒนธรรม, ธุรกิจการท่องเที่ยวขาเข้า

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความแตกต่างในมิติทางวัฒนธรรมทั้ง 6 ด้าน ของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย และเพื่อศึกษาความแตกต่างในมิติทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการจัดการการบริการนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลางของธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการของในการทำธุรกิจการท่องเที่ยวขาเข้า (Inbound Tourism) จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการบรรยายข้อมูล และนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นต่อการรับรู้มิติทางวัฒนธรรม รวมทุกด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า มิติการแสดงออกทางอารมณ์ (เก็บอารมณ์หรือแสดงออก) รองลงมาคือ มิติการมุ่งเห็นผลระยะยาว มิติการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน มิติการให้ความสำคัญระหว่างชายหญิง และอันดับสุดท้ายมิติความแตกต่างในเรื่องความเป็นปัจเจกบุคคลและกลุ่ม ส่วนความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลาง รวมทุกด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านสมรรถนะ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการรับรู้และเข้าใจลูกค้า อยู่ในระดับมาก และด้านความมีไมตรีจิต อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

References

กาญจนา โพนโต. (2557). ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ และการสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อวัสดุก่อสร้างในร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ (Modern Trade) ในจังหวัดปทุมธานี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ชัยวัฒน์ จันสิริบุญมี. (2556). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อโรงแรม ขนาด 3 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)

ธนกฤต สังข์เฉย และ พรหมมาตร จินดาโชติ. (2555). การวิเคราะห์คุณภาพบริการของอุตสาหกรรมเกสต์เฮาส์ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 3(2), 1-21.

ปกรณ์เกียรติ จารุวัฒน์ธนกิจ, เมทินี รัษฎารักษ์, และปวริศร์ มาเกิด. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการการเช็คอินด้วยตัวเองด้วยตัวเอง ที่ตู้คีออสของสายการบินไทยแอร์เอเชีย. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(2), 13-28.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2560). การสื่อสารภายใต้มิติความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามแนวคิด. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลับบูรพา, 25(47), 223-240.

สิญาธร ขุนอ่อน. (2559). มิติทางด้านวัฒนธรรมกับการแสดงความคิดเห็นต่อโรงแรมที่เข้าพักในพื้นที่อำเภอเกาะสมุยทางเว็บไซต์ตัวแทนจำหน่ายที่พักออนไลน์ของลูกค้าชาวไทยและชาติอื่นๆ. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 11(1), 53-68.

สุธีรา เดชนครินทร์ และ สุธินี ฤกษ์ขำ. (2558). ผลกระทบของมิติทางวัฒนธรรมที่มีต่อระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสูง: การบูรณาการทบทวนวรรณกรรม. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 32(2), 199-225.

วัชระ ยี่สุ่นเทศ, ทศพร มะหะหมัด, และเยาวลักษณ์ แซ่เลี่ยง. (2562). ปัจจัยการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพ การให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 1-11.

ศิริวิมล คำวงศ์.(2559). ปัจจัยคุณภาพที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความภักดีต่อบริษัทจัดท่องเที่ยวไปต่างประเทศของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

Jyoti, J., Kour, S., & Sharma, J. (2017). Impact of total quality services on financial performance: role of service profit chain. Total Quality Management & Business Excellence, 28(7-8), 897-929.

Hofstede,G. (2011). Dimensionalizing Cultures: The Hofstede Model in Context. Online Reading in Psychology and Culture. International Association for Cross-Cultural Psychology, 3-26.

Hofstede, G & Hofstede, G.J. (2005). Cultures and Organizations: Software of the mind. Revised and Expanded (2nd edition). USA.: McGraw-Hill

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perc. Journal of retailing, 64(1), 12.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30