บรรยากาศการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และข้าราชการกรมศุลกากร

ผู้แต่ง

  • กิติยา วงษ์ภักดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เมทินี รัษฎารักษ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • บุบผา ฐานุตตมานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

บรรยากาศการทำงาน, พฤติกรรมการทำงานตามบทบาท, พฤติกรรมการทำงานนอกเหนือบทบาท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงาน จำแนกตามคุณลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล และศึกษาอิทธิพลของบรรยากาศในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และข้าราชการกรมศุลกากร สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่และข้าราชการกรมศุลกากร จำนวน 144 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้การสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็นแบบตามความสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน ประกอบไปด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่และข้าราชการกรมศุลกากรส่วนใหญ่เป็น เพศชาย อายุ 31-40 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สถานภาพโสด ทำงานองค์กรระหว่าง 0-5 ปี และมีตำแหน่งอยู่ระดับปฏิบัติการ/ปฏิบัติงาน มีความเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศในการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า เจ้าหน้าที่และข้าราชการกรมศุลกากรที่มีคุณลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคลต่างกัน มีพฤติกรรมการทำงานไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ บรรยากาศในการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยในงาน (β = .168) ความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน (β = .438) ความสัมพันธ์อันดีกับผู้บังคับบัญชา (β = .313) และโอกาสความก้าวหน้าในงาน (β = .244) ส่งผลต่อพฤติกรรมทำงานตามบทบาทของเจ้าหน้าที่และข้าราชการกรมศุลกากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง. (2562). นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://www.customs.go.th/data_files/b2010f05d19541741e6fb5c059a76b3a.pdf

กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง. (2015). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ค่านิยมองค์กร. สืบค้นจาก http://www.customs.go.th/

จุฬารัตน์ สุคันธรัตน์. (2541). การรับรู้ บรรยากาศองค์การและความเครียดของบุคลากรในโรงพยาบาลตากสิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ฉวีวรรณ เอี่ยมพญา. (2559). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร

ฐาปณี บุณยเกียรติ. (2559). การรับรู้บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อความผูกพันขององค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานต่อองค์การ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

นงค์เยาว์ แกวมรกต. (2542). ผลของการรับรู้บรรยากาศองค์การทีมีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบุคคลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ปรียาภรณ์ แสงแก้ว. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของเจ้าหน้าที่พยาบาล โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

ภัครัตน์ เชื้อนเคนทร์. (2552). การศึกษาบรรยากาศการทำงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์เทเวศร์ ตามความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ็กซ์เบอร์เน็ท จํากัด.

สรียา บุญธรรม. (2558). บรรยากาศองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และความพึงพอใจในงาน : กรณีศึกษาโรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Bateman, T. S., & Organ, D. W. (1983). Job satisfaction and the good soldier: The relationship between affect and employee “citizenship”. Academy of management Journal, 26(4), 587-595.

Best, W. J., & Kahn, V. J. (2006). Research in education. Tenth Edit. United States of America: A and B Pearson.

Campbell, J.P. (1990). Modeling the Performance Prediction Problem in Industrial and Organizational Psychology. In: Dunnette, M.D. and Hough, L.M., Eds., Handbook of Industrial and Organizational Psychology, Consulting Psychologists Press, Palo Alto.

Daley, D. M. (1986). Humanistic management and organizational success: The effect of job and work environment characteristics on organizational effectiveness, public responsiveness, and job satisfaction. Public Personnel Management, 15(2), 131-142.

Hajiar, S. T. (2014). A statistical study to develop a reliable scale to evaluate instructors within higher institution. WSEAS Transactions on Mathematics, 13, 885-894.

Hastings, J. W., Garg, M., Lynn, E. T., & Divino, C. M. (2014). Surgical repair of ileovesical fistulas: long-term complications, quality of life, and patient satisfaction. The American Surgeon, 80(12), 1207-1211.

Hemakumara, G., & Rainis, R. (2018). Spatial Behaviour Modelling of Unauthorised Housing in Colombo, Sri Lanka. KEMANUSIAAN: The Asian Journal of Humanities, 25(2).

Katz, D., & Kahn, R. (1966). L. (1978). The social psychology of organizations. New York.

Leung, A. S. (2008). Matching ethical work climate to in-role and extra-role behaviors in a collectivist work setting. Journal of Business Ethics, 79(1-2), 43-55.

Menard, S. (2000). Coefficients of determination for multiple logistic regression analysis. The American Statistician, 54(1), 17-24.

Neter, J., Wasserman, W. and Kutner, M.H. (1989). Applied Linear Regression Models. 2nd Edition, Richard D. Irwin, Inc., Homewood.

Oupananchai, P. & Onputtha, S. (2018). Effect of Knowledge Learning Behavior and Knowledge Sharing Behavior on Conflict Management Effectiveness of Employees in Service Sector. The 5th National and 4th International Conference RMUTT Global Business and Economics Conference 2018 (RTBEC 2018) (p.1-17). Pathum Thani: Rajamnagala University of Technology Thanyaburi.

Poh, M. (2017). 5 Characteristics of A Positive Work Environment. Retrieved from https://www.hongkiat.com/blog/positive-working-environment/

Pourhosein, M. R., Kol, A. A. K., Vishkaii, B. M., & Jourshari, F. P. (2017). Investigate the Relationship between Institutional Ownership in Tehran Stock Exchange. International Journal of Economics and Financial Issues, 7(3), 276-285.

Raziq, A., & Maulabakhsh, R. (2015). Impact of working environment on job satisfaction. Procedia Economics and Finance, 23, 717-725.

Sarode, A. P., & Shirsath, M. (2012). The factors affecting employee work environment & it’s relation with employee productivity. International Journal of Science and Research (IJSR).

Stubbart, C. I., & Knight, M. B. (2006). The case of the disappearing firms: empirical evidence and implications. Journal of Organizational Behavior: The International Journal of Industrial, Occupational and Organizational Psychology and Behavior, 27(1), 79-100.

Tremblay, M., Cloutier, J., Simard, G., Chênevert, D., & Vandenberghe, C. (2010). The role of HRM practices, procedural justice, organizational support and trust in organizational commitment and in-role and extra-role performance. The international journal of human resource management, 21(3), 405-433.

Williams, L. J., & Anderson, S. E. (1991). Job satisfaction and organizational commitment as predictors of organizational citizenship and in-role behaviors. Journal of management, 17(3), 601-617.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. Harper & Row, New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30