การประเมินคุณภาพสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการยกระดับสู่มาตรฐานสากล
คำสำคัญ:
การประเมิน, คุณภาพสื่ออิเล็กทรอนิกส์, โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการยกระดับสู่มาตรฐานสากลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (2) ศึกษาความสนใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ (3) ประเมินคุณภาพสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการยกระดับสู่มาตรฐานสากล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ จำนวน 32 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 210 คน จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการยกระดับสู่มาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม และสื่ออิเล็กทรอนิกส์วิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีความสนใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีคุณภาพในระดับมากทุกด้านทั้งเนื้อหา กิจกรรม การนำเสนอสื่อ การออกแบบทางเทคนิค การออกแบบโปรแกรมและหน้าจอ และประโยชน์ของสื่อที่มีต่อผู้เรียนและผู้สอน
References
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2521). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชลธิชา ศรีสุข. (2553). ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา ต่างประเทศ เรื่อง ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
นภาพร แสนอินทร์. (2552). การพัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการขยายพันธุ์ของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
บัณฑิต อนุญาหงษ์. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง พุทธประวัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเบญจมราชาลัย กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
บุญศรี พรหมมาพันธุ์ และคณะ. (2556). รายงานการวิจัยโครงการศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
รุ่งรัชนี อินตาคำ. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การสืบพันธุ์และการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
สังวรณ์ งัดกระโทก. (2552). คุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์และความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทย: ข้อค้นพบ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการประเมินนักเรียนระดับนานาชาติ. กรุงเทพมหานคร: สภาวิจัยแห่งชาติ.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for The Behavioral Science. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates
Faul, Buncher, Erdfelder, & Lang (2012). G*Power3.14. Computer software
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น