การประเมินการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก กรณีศึกษา สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27

ผู้แต่ง

  • ไมตรี เชาวนา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รุจิกาญจน์ สานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การประเมิน, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ผู้ส่งออก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 และ 2) เพื่อนำผลที่ได้จากการประเมิน ไปปรับปรุงการดำเนินการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยทำการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก จำนวน 50 คน และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ ผู้ส่งออก จำนวน 7 คน พื้นที่ในการศึกษา คือ ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า การประเมินผลการดำเนินงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออกในแต่ละด้านตามความเห็นของเจ้าหน้าที่สรรพากรผู้ปฏิบัติงาน โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 3.75 (S.D. = 0.490) อยู่ในระดับมาก โดยในการประเมินผลด้านบริบทเกี่ยวกับนโยบายการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านปัจจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนของบุคลากร อยู่ในระดับปานกลาง และความเห็นของ ผู้ส่งออกที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรวมเห็นด้วยกับผลการประเมินของเจ้าหน้าที่สรรพากรผู้ปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย กรมสรรพากรควรรวบรวมปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานเพื่อหาข้อยุติ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสภาพธุรกิจในปัจจุบัน ควรจัดสรรกำลังบุคลากรและอุปกรณ์ที่ใช้ใน การปฏิบัติงานเพื่อการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพรวดเร็วได้ตามกำหนดเวลา และควรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับขั้นตอนการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อให้ผู้ส่งออกได้จัดเตรียมข้อมูล และเอกสารเพื่อนำส่งได้อย่างรวดเร็ว

References

กรมสรรพากร. (2539). ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2539. สืบค้นจาก http://www.rd.go.th/publish

กรมสรรพากร. (2557). ตรวจค้นกลุ่มผู้ประกอบการส่งออกคอมพิวเตอร์ที่ต้องสงสัยว่าทุจริตการส่งออก เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม. เลขที่ข่าว ปชส. 42/2557.

กรมสรรพากร. (2560). เกี่ยวกับกรมสรรพากร. สืบค้นจาก http://www.rd.go.th/publish

กระทรวงการคลัง. (2561). ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล. สืบค้นจาก http://dwfoc.mof.go.th/Dataservices/GovernmentRevenue

ดวงทิพย์ จันทรศักดิ์. (2543). การบริหารงานคืนภาษีมลู ค่าเพิ่มแก่ผู้ส่งออกให้มีประสิทธิภาพศึกษากรณี : สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 8. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ประชุม รอดประเสริฐ. (2535). การบริหารโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เนติกุลการพิมพ์.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2544). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณงาม แก้วคำ. (2546). ประสิทธิภาพการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก ในเขตจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อรวรรณ หันแม้นเทพอมร. (2544). การตรวจคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Stufflebeam, D. L. (1971). The relevance of the CIPP evaluation model for educational accountability. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED062385.pdf

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed., New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29