พฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในจังหวัดเพชรบุรีจซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • สุธาทิพย์ เรือนคำปา นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • วัชระ เวชประสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม, กลยุทธ์การตลาด , การตัดสินใจซื้อ , ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์การตลาดและการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) พฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 3) กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในจังหวัดเพชรบุรี ที่มีประสบการณ์การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 400 คน โดยใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์การตลาดและการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับมาก 2) พฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในจังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 3) กลยุทธ์การตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในจังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.001

 

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ. สืบค้น 26 พฤศจิกายน 2566. https://thaimsw.pcd.go.th/report_country.php

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์.

ชุลีกร เทพบุรี, ธัญญ์ธิชา ศรีคำ, นภัสสร แซ่ลิ้ม, ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และวทัญญู รัศมีทัต. (2562). ปัจจัยที

ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย.

ว.มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(1), 50-58.

ธงชัย สุธีรศักดิ์, วัชรวดี ลิ่มสกุล, ณัฎฐินี อุทกูล และณัฎฐาพร อุทกูล. (2563). พฤติกรรมการใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารที่ใช้แล้วทิ้งของร้านขายอาหาร กรณีศึกษาอำเภอเมืองและอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต.

ว.สังคมวิจัยและพัฒนา. 2(1), 20-38.

ธนาคารกรุงเทพ. (2565). แม้ราคาสูงขึ้นก็ยอม! เจาะลึกพฤติกรรม 'ผู้บริโภค' พร้อมจ่ายเพื่อสินค้ารักษ์โลก SME ปรับตัวอย่างไรไม่ตกเทรนด์. สืบค้น 28 พฤศจิกายน 2566. https://www.bangkokbanksme.com/en/expensive-and-willing-to-pay-for-environmentally-friendly-products

นภัสวรรณ วงกตวรินทร์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์สีเขียว.

[การค้นคว้าอิสระการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาสน์.

บุษยมาส ชื่นเย็น, อุมารินทร์ ราตรี, โชฒกามาศ พลศรี และรัตนภรณ์ แซ่ลี้. (2567). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย. ว.วารสารศิลปการจัดการ. 8(1), 288-307.

ปฐพี สุทธิวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์สีเขียวของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป.

ไพฑูรย์ พิมดี. (2564). บทความปริทัศน์พฤติกรรมสิ่งแวดล้อม. ว.ครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 20(1), A1-A5.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2562). อิทธิพลของทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ว.ความปลอดภัยและสุขภาพ. 12(2), 58-74.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). มูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์ไทย. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2566. https://kasikornresearch.com/th

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). ผลสำรวจพฤติกรรมและมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อปัญหาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและแนวโน้มความสนใจลงทุนด้าน ESG. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2566.

https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/ Pages/ESG-consumer-z3337.aspx

สิริพัฒนัญ ชินเศรษฐพงศ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

อัญชลี เยาวราช. (2564). กลยุทธ์การตลาดในมุมมองของลูกค้า (4C’s) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร. ว.วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(3), 163-175.

Jump, N. (1978). Psychometric Theory (2nd ed.). McGraw Hill.

Le, Q. H. (2021). Factors affecting consumer purchasing behavior: A green marketing

perspective in Vietnam. Journal of Asian Finance, Economics and Business. 8(5),

–444.

Likert. (1970). New Patterns of Management. McGraw-Hill.

Trivedi, R., Patel, J., & Savalia, J. (2015). Pro-environmental behaviour, locus of control and willingness to pay for environmental friendly products. Marketing Intelligence and Planning. 33(1), 67-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-19

How to Cite

เรือนคำปา ส. ., & เวชประสิทธิ์ ว. . (2024). พฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในจังหวัดเพชรบุรีจซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 23(2), 69–86. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/view/280750