การพัฒนาแอปพลิเคชันพระสุธนมโนราห์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย สหพงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, เทคโนโลยีความจริงเสริม , นิทานพื้นบ้าน , พระสุธนมโนราห์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาบริบท  และสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาสื่อแอนิเมชันนิทานพื้นบ้าน เรื่องพระสุธนมโนราห์ 2) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันพระสุธนมโนราห์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 3) เพื่อศึกษาคุณภาพของแอปพลิเคชันพระสุธนมโนราห์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแอปพลิเคชันพระสุธนมโนราห์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณภาพ จำนวน 9 คน 2) นักเรียนเพื่อศึกษาความพึงพอใจ จำนวน 60 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชันพระสุธนมโนราห์ 2) แบบประเมินคุณภาพ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาบริบท และสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาสื่อแอนิเมชันนิทานพื้นบ้านเรื่องพระสุธนมโนราห์ พบว่า แนวทางการพัฒนาแอนิเมชันนิทานพื้นบ้าน เรื่องพระสุธนมโนราห์ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็น  ควรพัฒนาในรูปแบบสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ผ่านการใช้งานแอปพลิชันเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) ใช้หนังสือนิทานพื้นบ้านเป็น Marker เพื่อเป็นสื่อที่ส่งเสริมการอ่านสำหรับเยาวชน 2) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชัน พบว่า ได้ผลลัพธ์ 2 ส่วน ประกอบด้วย 1. หนังสือนิทานพระสุธนมโนราห์ (Marker) จำนวน 1 เล่ม มีเนื้อหาแบ่งเป็น 6 หน้า 2. แอปพลิเคชันพระสุธนมโนราห์ ที่เป็นเครื่องมือนำเสนอแอนิเมชัน 3 มิติ ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3) ผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (equation = 4.57, S.D. = 0.50) 4) ความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแอปพลิเคชันพระสุธนมโนราห์ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (equation = 4.63, S.D. = 0.48)

References

จิราภรณ์ ปกรณ์. (2561). AR (Augmented Reality) เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง. สืบค้น 14 สิงหาคม 2566. https://www.scimath.org/articletechnology/item/7755-ar

augmented-reality

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยสาส์น.

พรทิพย์ กลมดี และรุจโรจน์ แก้วอุไร. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริม เรื่องระบบสุริยะจักรวาล สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ว.อิเล็กทรอนิกส์ สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์. 3(2), 27-35.

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. อภิชาติการพิมพ์.

ศรีอัมพร มาตา. (2555). นิทานพื้นบ้าน. สืบค้น 14 สิงหาคม 2566. https://www.gotoknow.org/posts/305821

สุขสวัสดิ์ แซ่ลิ่ม ชัยวุฒ สัมฤทธิ์ และดรุณกิจ ประสมศักดิ์. (2564). แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (609-616). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อมร ตันสุตะพานิช. (2555). [นิทานเรื่องเล่า] พระสุธน - มโนราห์ วรรณกรรมเลื่องชื่อในสมัยอยุธยา. สืบค้น 14 สิงหาคม 2566. https://www.gotoknow.org/posts/458734

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-21

How to Cite

สหพงษ์ ธ. . (2024). การพัฒนาแอปพลิเคชันพระสุธนมโนราห์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 23(2), 51–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/view/279810