การพัฒนาระบบสารสนเทศประเมินสมรรถนะของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษา สำหรับการวางแผนพัฒนาความสามารถรายบุคคล

ผู้แต่ง

  • ชรินทร์ญา หวังวัชรกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สิริกร ทองหล่อ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศ , ประเมินสมรรถนะ , สถาบันการศึกษา , ความสามารถรายบุคคล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศประเมินสมรรถนะของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษา สำหรับการวางแผนพัฒนาความสามารถรายบุคคล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษา 2) เพื่อประเมินคุณภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินสมรรถนะ  2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญและ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินสมรรถนะ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าโดยรวมคุณภาพอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 และผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่าภาพรวมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73 โดยจะเห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลและสามารถนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาความสามารถรายบุคคลได้

References

กาญจน์วริน สิทธิปรีชาพงษ์. (2565). การศึกษาความต้องการการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (NSRU MIS) ระดับบุคคล. Journal of MCU Humanities Review. 8(1), 223-236.

จันทราภา พูลสนอง, กนก พานทอง, พีร วงศ์อุปราช, และ พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2566). การพัฒนาระบบประเมินเชิงบูรณาการทางปัญญา สำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์. ว.วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 17(1), 1-15.

จิระวดี สินทร. (2565). การบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ว.การวิจัยพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7(4), 15-29.

จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2566). การพัฒนาระบบสารสนเทศกิจกรรมนักศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ว.การพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่. 8(4), 160-173.

นนท์ปวิธ เพชระ และนัทธีรัตน์ พีระพันธุ์. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ว.สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(5), 126-140.

ประยงค์ ฐิติธนานนท์. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประเมินสมรรถนะผู้เรียนคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ว.บัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 14(2), 99-104.

มนพ การกล้า, ชูศักดิ์ เอกเพชร, และนัฏจรี เจริญสุข. (2566). การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศออนไลน์เพื่อการบริหารงานของโรงเรียนในเครือข่ายศรีลันตา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดกระบี่. ว.รัชต์ภาค, 16(46), 197-209.

วรุฒน์ ม่วงนาค. (2566). การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูลออนไลน์เพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. ว.การจัดการภาครัฐและการเมือง. 1(3), 30-41.

ศิริพร โรจนโกศล, ปราชญ์ ชัยศิริ, ธนากรณ์ กันนิกา, และ วุฒิชาติ แสวงผล. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานสำหรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ว.วิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(1), 20-32.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2567). การประเมินคุณภาพการศึกษา. https://www.obec.go.th

Best, J. W. (1981). Research in Education. Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-05

How to Cite

หวังวัชรกุล ช., & ทองหล่อ ส. . . (2024). การพัฒนาระบบสารสนเทศประเมินสมรรถนะของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษา สำหรับการวางแผนพัฒนาความสามารถรายบุคคล. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 23(2), 14–29. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/view/279489