การพัฒนานวัตกรรมสื่อดิจิทัลสำหรับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่

ผู้แต่ง

  • กัมปนาท คูศิริรัตน์
  • นุชรัตน์ นุชประยูร

คำสำคัญ:

นวัตกรรมสื่อดิจิทัล, แพลตฟอร์มการเรียนรู้, อุปกรณ์เคลื่อนที

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพนวัตกรรมสื่อดิจิทัล ประเมินประสิทธิผลนวัตกรรมสื่อดิจิทัล และศึกษาการยอมรับนวัตกรรมสื่อดิจิทัลสำหรับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ของนักศึกษาสาขาวิชาแอนิเมชั่นและดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 19 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิชาแอนิเมชั่นและดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและการพัฒนาเว็บ ปีการศึกษา 1/2564 เลือกโดยการแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ นวัตกรรมสื่อดิจิทัลการเรียนสำหรับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ แบบประเมินประสิทธิภาพ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม และแบบประเมินการยอมรับนวัตกรรมสื่อดิจิทัล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ Dependent Samples  ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และค่าประสิทธิผล (E.I.)

ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพมีค่าเท่ากับ 82.41/80.63 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80  ผลการประเมินประสิทธิผลจากคะแนนหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนสามารถประเมินได้ด้วยค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.7007 แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.07  และผลการยอมรับนวัตกรรมสื่อดิจิทัลสำหรับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ อยู่ในระดับ มาก (  = 4.22, S.D.= 0.55) 

References

ธนกร เริงเกษตรกรณ์. (2560, 27 กรกฎาคม). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์รายวิชาการพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1: กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

วิไลวรรณ วงศ์จินดา. (2564). แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สมรักษ์ นันตา และคณะ. (2564, 22 กุมภาพันธ์). บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch วิชาการเขียนโปรแกรมสำหรับสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครไตรตรึงษ์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ครั้งที่ 1: กำแพงเพชร, ประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 -2580) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. ผู้แต่ง.

อภิฤดี ทองพล.(2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. ว.วิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.13(1),35-50.

Davis, F. D., Bagozzi, R. P. & Warshaw, P.R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science. 35(8), 982-1003.

Deng, L. & Ma, W. (2018). New Media for Educational Change. Springer.

Liu, I-F., Chen, M.C., Sun, Y.S., Wible, D., & Kuo, C-H. (2010). Extending the TAM model to explore the factors that affect intention to use an online learning community. Computers & Education. 54, 600-610.

O'Brien, E., McCarthy, J., Hamburg, I., & Delaney, Y. (2019). Problem-Based Learning in the Irish SME Workplace. Journal of Workplace Learning. 31(6), 391-407.

Sánchez-Franco, M.J., Martínez-López, F.J. & Martín-Velicia, F.A. (2009). Exploring the impact of individualism and uncertainty avoidance in Web-based electronic learning: An empirical analysis in European higher education. Computer & Education. 52, 588-598.

Sheng, Z., Jue, Z., & Wiewie, T. (2008). Extending TAM for Online Learning System: An Intrinsic Motivation Perspective. Tsighua Science and Technology. 13(3), 312-317.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-03

How to Cite

คูศิริรัตน์ ก. ., & นุชประยูร น. . . (2023). การพัฒนานวัตกรรมสื่อดิจิทัลสำหรับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 22(1), 29–43. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/view/272969

ฉบับ

บท

บทความวิจัย