การแสวงหาข่าวสาร การตลาดเชิงเนื้อหา และการรับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านแพลตฟอร์มอินสตาแกรม ของกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์กระเบื้องดินเผา
คำสำคัญ:
การแสวงหาข่าวสาร, การตลาดเชิงเนื้อหา, การสื่อสารการตลาด, แพลตฟอร์มอินสตาแกรม, กระเบื้องดินเผาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การแสวงหาข่าวสาร การตลาดเชิงเนื้อหาและ การรับรู้การสื่อสารการตลาด ผ่านแพลตฟอร์มอินสตาแกรม ของกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์กระเบื้องดินเผา จำนวน 400 ตัวอย่าง สำหรับแบบสอบถาม (questionnaire) ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาชีพทั้งสิ้น 400 คน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เป็นเพศหญิงจำนวน 263 คน มีช่วงเวลาในการการแสวงหาข่าวสาร มากที่สุด คือช่วงเวลา 14:01 - 20:01 น.มีจำนวน 204 คน มีลักษณะเนื้อหาในการแสวงหาข่าวสาร มากที่สุด คือ แสวงหาข่าวสารเมื่อต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ มีจำนวน 109 คน กลุ่มที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีลักษณะเนื้อหาในการแสวงหาข่าวสารที่แตกต่างกันคือ เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสินค้าและบริการมากที่สุด กลุ่มอาชีพ ฝ่ายจัดซื้อภาครัฐวิสาหกิจ ฝ่ายจัดซื้อภาคเอกชน และเจ้าของกิจการ มีลักษณะการแสวงหาข่าวสารเมื่อต้องการซื้อผลิตภัณฑ์กระเบื้องดินเผามากที่สุด และผลการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ F-test โดยวิธี One-way ANOVA พบว่า กลุ่มอาชีพแตกต่างกัน มีการรับรู้การสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กระเบื้องดินเผา ผ่านแพลตฟอร์มอินสตาแกรมด้านสินค้า ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ F-test โดยวิธี One-way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า Sig. ของ การรับรู้การสื่อสารการตลาด ด้านสินค้า เท่ากับ 0.000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐาน H0 ยอมรับสมมติฐาน H1 แสดงว่ากลุ่มอาชีพแตกต่างกัน มีการรับรู้การสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กระเบื้องดินเผา ผ่านแพลตฟอร์มอินสตาแกรม ด้านสินค้าโดยรวมแตกต่างกัน
References
ชนิดา กิ่งรุ้งเพชร์. (2561). ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในอินสตาแกรมสำหรับสินค้า ประเภทอาหารและ
เครื่องดื่ม กับการเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภค.
[วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]
พรรณลดา โต. (2560). พฤติกรรมของกลุ่มคนดิจิทัลเนทีฟในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อการซื้อสินค้า
ผ่านอินสตาแกรม. [รายงานการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้]
เพ็ญภิมล โสภณธนกิจ. (2560). การตลาดเชิงเนื้อหาของสำนักพิมพ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจ การ
ตัดสินใจซื้อ และความภักดีของผู้อ่าน. สำนักพิมพ์อะบุ๊กและสำนักพิมพ์แซลมอน.
ศิรประภา ศรีวิโรจน์ และ เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2564). รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบ
บูรณาการและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุใน
ประเทศไทย. ว.วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 11(3), 76-89. https://heritage.eau.ac.th/
soc_journal/PDF/HeritageJournal/Heritage-13-03-62-Social-new.pdf
สุภาพร วงษ์จำปี. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลคลองพลู
อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา] http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3127/3/chonchinee_bunn.pdf
สำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2518). กระเบื้องดินเผามุงหลังคา.
กระทรวงอุตสาหกรรม.
Atkin, C. K. (1973). New model for mass communication research. The Free Press.
Pulizzi, J. (2014). Epic content marketing: how to tell a different story, break through the
clutter, and win more customers by marketing less. McGraw-Hill.
Yoo, B., Donthu, N., & Lee, S. (2000). An examination of selected marketing mix elements
and brand equity. Journal of the Academy of Marketing Science. 28(2), 195-211.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว