การพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการเขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชันโดยใช้ฐานความรู้ออนโทโลยีเพื่อปรับปรุงการคิดแบบสังเคราะห์

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา ใจบุญลือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การเขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชัน, พัฒนาความคิดเชิงสังเคราะห์, พัฒนาโปรแกรมสนับสนุน

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและออกแบบฐานความรู้ออนโทโลยีการเขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชัน 2) เพื่อพัฒนาและออกแบบโปรแกรมสนับสนุนการเขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชันเพื่อพัฒนาความคิด  เชิงสังเคราะห์ด้วยฐานความรู้ออนโทโลยี 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 45 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านแอนิเมชัน จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านออนโทโลยี จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบประเมินความเหมาะสมโครงสร้างความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชันที่ผ่านการหาค่าสัมประสิทธิความสอดคล้องเฉลี่ย 0.50 (2)    แบบประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านออนโทโลยีที่ผ่านการหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องเฉลี่ยที่   ค่า 0.50 (3) แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้โปรแกรมที่ผ่านการหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.73 และ(4) โปรแกรมสนับสนุนการเขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชันเพื่อพัฒนาความคิดเชิงสังเคราะห์ด้วยฐานความรู้ออนโทโลยี

    ผลวิจัยพบว่าผลการประเมินความเหมาะสมโครงสร้างความรู้ด้านการเขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชัน    จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ค่าสัมประสิทธิความสอดคล้อง (IOC) ความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.57) ในแง่มุมของการประเมินการออกแบบออนโทโลยีเพื่อนำไปใช้ในโปรแกรม ผลประเมินที่ผ่านการหาค่าสัมประสิทธิความสอดคล้อง (IOC) ความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.06) และแง่มุมของความพึงพอใจการใช้โปรแกรมสนับสนุนการเขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชัน ผลประเมินที่ผ่านการหาค่าสัมประสิทธิความสอดคล้อง (IOC) ความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.51)

References

จิรัฎฐา ภูบุญอบ และวรวิทย์ สังฆทิพย์. (2556). การออกแบบสถาปัตยกรรมออนโทโลยีเพื่อบูรณาการข้อมูลสำหรับการบริหารงานกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 9 (น. 271-280), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ทองพูล หีบไธสง. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศดั้งเดิมด้วยออนโทโลยี. ว.เทคโนโลยีสารสนเทศ. 9(1), 67-72.

ธีรวิชญ์ วงษา และรัฐสิทธิ สุขะหุต. (2557). ออนโทโลยีกับการจัดการความรู้. ข่าวสารคณะวิทยาศาสตร์ มช. (น. 1-3).

Chung, H. S., & Kim, J. M. (2012, March). Ontology design for creating adaptive learning path in e-learning environment. In Proceedings of the

international MultiConference of engineers and computer scientists (pp. 585-588). Hong Kong

Hitzler, P., Gangemi, A., & Janowicz, K. (Eds.). (2016). Ontology engineering with ontology design patterns: foundations and applications.

IOS Press.

Lombardo, V., & Pizzo, A. (2014). Ontology–based visualization of characters’ intentions. Proceedings of International Conference on

Interactive Digital Storytelling. (pp.176-187). Springer, Cham.

Marx, C. (2012). Writing for animation, comics, and games. Routledge.

Na Chai, W., Ruangrajitpakorn, T., & Supnithi, T. (2017). A Tool for data acquisition of thinking processes through writing. In The 25th

International Conference on Computers in Education (ICCE2017) (pp. 80-85), Chirstchurch, New Zealand.

Na Chai, W., Ruangrajitpakorn, T., & Supnithi, T.. (2018, November). A Supporting tool for learning to improve thinking skill through reading

activities. In 2018 International Joint Symposium on Artificial Intelligence and Natural Language Processing (iSAI-NLP) (pp. 1-5). IEEE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-01

How to Cite

ใจบุญลือ ป. . (2023). การพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการเขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชันโดยใช้ฐานความรู้ออนโทโลยีเพื่อปรับปรุงการคิดแบบสังเคราะห์. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 21(1), 29–42. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/view/265863

ฉบับ

บท

บทความวิจัย