แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษกลุ่มเครือข่ายที่ 9
คำสำคัญ:
การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ, แนวทางการพัฒนา, ศูนย์การศึกษาพิเศษบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 –1.00 และค่าความเชื่อมั่ของสภาพปัจจุบันเท่ากับ 0.94 ค่าความเชื่อมั่นของสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหารสถานศึกษา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยการตีความแล้วนำเสนอแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดละค่าความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ระหว่าง 0.10 - 0.35 2) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านสวัสดิภาพและความวางใจ ได้แนวทางทั้งหมด 5 แนวทาง ด้านสังคมและความคล่องตัว ได้แนวทางทั้งหมด 5 แนวทาง และด้านคุณสมบัติของผู้บริหาร ได้แนวทางทั้งหมด 4 แนวทาง
References
จารุวรรณ วิจิตรวงศ์วาน. (2556). การตัดสินใจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2556). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนพรรณ อนุเวช. (2564). แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. ว.มหาจุฬานาครทรรศน์. 8(7), 185-198.
นลินี คลังทอง. (2559). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานประกอบการด้วยวิธีเรียนรู้จากการปฏิบัติและการสื่อสารโน้มน้าวใจผ่านคอมพิวเตอร์สนับสนุนการทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรภายในองค์กรเอกชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.
ภาวินี ทองรัตนะ. (2558). แบบการติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. ใน ประจักร์ รอดอาวุธ (บ.ก.),รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, (น. 1021-1031). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวณีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2552). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5).
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารภายในองค์กร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). การวิจัยทางการศึกษา [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Seyedinejat, S. S., Ebrahim razaghi, M. & Dousti, M. (2012). Priortizing managerial skills based on Katz’s Theory in physical education offices of univerities in Iran. World Applied Sciences Journal. 20(3), 388-394.
Salih, P. M. (2015). The Perception of teachers about management skill of school principals. World Applied Sciences Journal. 5(2), 104-105.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสารสนเทศ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว