แนวทางการพัฒนาการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3
คำสำคัญ:
การระดมทรัพยากร, แนวทางการพัฒนา, การบริหารจัดการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น จากกลุ่มตัวอย่าง สถานศึกษา 105 โรงเรียน แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา 105 คน และครูผู้สอน 621 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบันเท่ากับ 0.93 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.38 - 0.75 และค่าความเชื่อมั่นสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ 0.94 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.36 - 0.74 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน จากผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยวิธีการตีความแล้วนำเสนอแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง 0.30 - 0.34 3) แนวทางการพัฒนา มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด พบแนวทางการพัฒนา 24 แนวทาง แบ่งเป็น ทรัพยากรการเงิน 8 แนวทาง ทรัพยากรบุคคล 6 แนวทาง ทรัพยากรวัสดุอุปกรณ์ 5 แนวทาง และทรัพยากรการบริหารจัดการ 5 แนวทาง
References
ทิพมณฑา ทนุการ. (2558). การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. ว.สังคมศาสตร์วิจัย. 6(2), 27-47.
ธวัชชัย เปรมปรีดิ์. (2543). ปัจจัยที่จําเป็นในการบริหารโรงเรียน. อักษรไทย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
เบญจาภา เบญจธรรมธร. (2562). การบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ว.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 6(2), 47-66.
ปิยธิดา ตรีเดช และศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช. (2536). การบริหารงานสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2544). ทรัพยากรการบริหารการศึกษา. ไทยวัฒนาพานิช.
วิชญ์ภาส สว่างใจ. (2558). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา ในเขตอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. ว.มหาวิทยาลัยนครพนม. 5(2), 128-136.
สังเวียน มาลาทอง. (2556). การศึกษาสภาพการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารการศึกษาในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. ว.วิจัยรำไพพรรณี. 7(3), 60-65.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3. แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2562. ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. พริกหวานกราฟฟิค.
สุภิญญา เทียนขาว. (2558). การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเคียนซาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ว.นาคบุตรปริทรรศน์. 7(1), 52-62.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำพล ราวกลาง. (2555). แนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กกลุ่มโรงเรียนปง 2. ว.ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิจัยบัณฑิตศึกษา).7(1), 245-252.
Brown. (1993). Principles of Language Learning and Teaching. (3 rd ed.). San Francisco State University.
Ekere, S. C. & Oduntan, A. B. (2018). Head teachers’ resource mobilization and public primary school goals attainment in Odukpani local government area of cross River state, Nigeria. International Journal of Science and Research (IJSR). 6(8), 1018-1023.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว