การประเมินคุณภาพผลไม้แบบไม่ทำลาย โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพ และการจำแนกด้วยฐานกฎ

ผู้แต่ง

  • วิมล อุทานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สุกัญญา พงษ์สุภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วันทนี สว่างอารมณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การประเมินคุณภาพผลไม้, เทคนิคการประมวลผลภาพ, การจำแนกด้วยฐานกฎ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดลองการนำเทคนิคการประมวลผลภาพและการจำแนกด้วยฐานกฎมาใช้ในการประเมินคุณภาพของผลไม้แบบไม่ทำลายโดยใช้ผลฝรั่งพันธุ์กิมจูเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยนี้วิเคราะห์ความเกี่ยวพันของลักษณะสีที่มองเห็นภายนอกของผลไม้กับองค์ประกอบในการประเมิน รสชาติ(taste) และลักษณะเนื้อ (flesh) ของผลฝรั่ง

งานวิจัยนำเสนอเทคนิคการประมวลผลภาพโดยใช้โมเดลสีอาร์จีบี กำหนดชื่อสีตามระบบไอเอสซีซี-เอ็นบีเอส (ISCC-NBS) จำนวน 8 กลุ่มสี และใช้การจำแนกคุณภาพของผลฝรั่งโดยสร้างฐานกฎในการจำแนกความเกี่ยวพันของลักษณะสีกับคุณภาพด้านรสชาติ และจำแนกความเกี่ยวพันของลักษณะสีกับคุณภาพด้านลักษณะเนื้อของผลฝรั่ง

ผลการวิจัย พบว่า การใช้ฐานกฎจำแนกความเกี่ยวพันของลักษณะสีกับคุณภาพด้านลักษณะเนื้อ มีค่าความแม่นยำสูงกว่าการใช้ฐานกฎจำแนกความเกี่ยวพันของลักษณะสีกับคุณภาพด้านรสชาติ  โดยที่การจำแนกความเกี่ยวพันของลักษณะสีกับคุณภาพด้านรสชาติ(หวาน ไม่หวาน) และความเกี่ยวพันของลักษณะสีกับคุณภาพด้านลักษณะเนื้อ (ไม่นุ่ม นุ่ม) มีค่าความแม่นยำร้อยละ 63.33 และ 86.67 ตามลำดับ

 

References

จันทนา ใจจิตร และคณะ. (2559). การวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพ
ในเขตภาคกลาง: ชุดโครงการวิจัย. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จิราภรณ์ บุราคร. (2560, กันยายน). การประเมินคุณภาพอาหารทางประสาทสัมผัสกับการพัฒนา
อุตสาหกรรมอาหาร 4.0. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ,65, 205, 16-17.
ศิริลักษณ์ วงศ์เกษม. (2555). การใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์ตรวจสอบคุณภาพและคัดแยกผลผลิตทาง
การเกษตร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(2) 10-21.
Gonzalez, R. C. & Woods, R. E. (2009). Digital Image Processing (3rd ed.).
Prentice Hall.
Kim Gwan Dae et al. (2009). Classification of grapefruit peel diseases using color texture
feature analysis. International Journal of Agric & Biol Eng,,2(3), USA.
Lak M. B. et al. (2010). Apple fruits recognition under natural luminance using machine
vision, Advance journal of food science and technology 2(6): 325-327.
Sukanya P., Takamatsu R. & Sato M. (1998). Image classification using the sureface-shap
operator and multiscale feature, Proc. of fourteen international conference on pattern
recognition. 1998 Aug; 334-337.
Unaya, D., Gosselinb, B., Kleynenc, O., Leemansc, V., Destainc, M., & Debeird, O.
(2010, January). Automatic grading of Bicolored apples.
Computers and Electronics in Agriculture,1(75) 204-212.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite

อุทานนท์ ว. ., พงษ์สุภาพ ส., สว่างอารมณ์ ว., & สิงห์คลีวรรณ ณ. . (2020). การประเมินคุณภาพผลไม้แบบไม่ทำลาย โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพ และการจำแนกด้วยฐานกฎ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 19(1), 129–138. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/view/249251