การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ในจังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ปวีณา วงศ์วรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สาวิตรี ทยานศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พหุปัญญา, เด็กปฐมวัย, มารดาวัยรุ่น, ลูกของมารดาวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญา 8 ด้านของเด็กปฐมวัย อายุ 5–6 ปี ที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นกับเด็กที่ไม่ได้เกิดจากมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 41 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยเด็กปฐมวัยอายุ 5–6 ปีที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นและเด็กที่เกิดจากมารดาวัยผู้ใหญ่ในจังหวัดกำแพงเพชร เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบทดสอบความสามารถทางพหุปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถทางพหุปัญญาทั้ง 8 ด้านของเด็กที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นและมารดาวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับอ่อนใกล้เคียงกันโดยเฉพาะความสามารถด้านภาษา ความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ความสามารถด้านการเข้าใจธรรมชาติ มีเพียงความสามารถด้านดนตรี และความสามารถด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวที่พบว่า เด็กที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นมีสัดส่วนของเด็กที่มีความสามารถในระดับดีสูงกว่าเด็กที่เกิดจากมารดาวัยผู้ใหญ่ แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

         ข้อเสนอแนะของการศึกษานี้ คือ เด็กปฐมวัยทั้งที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นหรือเกิดจากมารดาวัยผู้ใหญ่ควรได้รับการพัฒนาทักษะความสามารถทางพหุปัญญาให้มากขึ้น โดยเฉพาะความสามารถด้านภาษา ความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ความสามารถด้านการเข้าใจธรรมชาติ เพื่อให้มีความสามารถทางปัญญาที่เหมาะสมกับวัย

References

กองทุนประชากร แห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย. (2560). แม่วัยใส ความท้าทายการตั้งครรภ์
ในวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: กองทุนสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย.
ดุลยา จิตตะยโศธร. (2552). รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู:แนวคิดของ Diana Baumrind. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 173-187.
นิธิรัตน์ บุญตานนท์ และ ภัสสรา นรารักษ์. (2555). หยุด!!! การตั้งครรภ์วัยรุ่น เรื่องยากที่ต้องช่วยกัน.
เพื่อนสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5, 6(2), 1-8.
นิตยา คชภักดี. (2543). ขั้นตอนการพัฒนาของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิ- 5 ปี. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. (2557). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : นโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล
(พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ปิยะธิดา ขจรชัยกุล. (2557). การพัฒนากระบวนการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เด็กปฐมวัยในครอบครัว
(รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพ: ศูนย์คุณธรรมองค์การมหาชน.
ภรภัทร นิยมชัย. (2553). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์
จาก แหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนคริน-ทรวิโรฒ.
มุกดา ศรียงค์ และคณะ. (2548). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร:
ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แมค.
----------. (2554). พหุปัญญามองคุณค่าทุกความต่าง. กรุงเทพมหานคร: สาราเด็ก.
ระพีพิชญ์ กาญจนาคม. (2549). การศึกษาการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัย 1-2 ปีที่คลอดจาก
มารดาวัยรุ่นที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาการวิจัย.
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2550). จิตวิทยาเด็กที่มีลักษณะพิเศษ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร:
หมอชาวบ้าน.
สุกัญญา ฆารสินธุ์. (2555). รูปแบบการเลี้ยงดูเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ของปู่/ย่า/ตา/ยาย ที่บริโภคสุราและไม่
บริโภคสุรา ในอำเภอแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุธรรม นันทมงคลชัย, ศิริกุล อิศรานุรักษ์, ดวงพร แก้วศิริ. (2547). ปัจจัยด้านครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อ
พัฒนาการเด็กปฐมวัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา,2(1)
,3-10.
สุนิสา แสงอนันต์. (2548). การใช้ตัวแบบจากการเล่านิทานเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว ของนักเรียนที่มีความ
บกพร่องทางการได้ยิน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภวรรณ เจตุวงศ์ และคณะ. (2557). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: การให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์.
กรุงเทพมหานคร: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). สภาวะการมีบุตรของวัยรุ่นไทย
พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2560). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่น ประเทศไทย ปีพ.ศ. 2558. นนทบุรี:
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.
อัญชนา เถาว์ชาลี. (2553). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การเล่นตามมุมประสบการณ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร:
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาจารี ศรีดาวเรือง. (2555). การพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถทางพหุปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อารี สัณหฉวี. (2535). พหุปัญญาประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเพื่อการศึกษาเด็ก.
อุมาพร เทียมทัด. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบการเรียนรู้กับพหุปัญญาของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite

วงศ์วรกิจ ป. ., & ทยานศิลป์ ส. . (2020). การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ในจังหวัดกำแพงเพชร . วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 19(1), 101–116. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/view/244451