การสังเคราะห์องค์ความรู้ของบทความวิจัยในวารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อจัดทำสารานุกรมวารสารวิจัยออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ฆนธรส ไชยสุต สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์องค์ความรู้, วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ, สารานุกรมวารสารวิจัยออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ของบทความวิจัยในวารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ  2) เพื่อพัฒนาสารานุกรมวารสารวิจัยออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บทความในวารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ 10 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2561จำนวน 212 เรื่อง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกองค์ความรู้ของบทความวิจัย 2) แบบประเมินคุณภาพของสารานุกรมวารสารวิจัยออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทดลอง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นใช้สถิติเชิงบรรยายการวิเคราะห์เนื้อหาใช้ในการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ พบว่า ได้องค์ความรู้4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ  2) ด้านสังคม     3) ด้านสิ่งแวดล้อม 4) ด้านการศึกษา และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาสารานุกรมวารสารวิจัยออนไลน์ โดยผลการพัฒนาระบบ พบว่า มีการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารานุกรมวารสารผ่านเว็บแอปพลิเคชัน  โดยการพัฒนาใช้ภาษา php ร่วมกับฐานข้อมูล Mysql การทำงานของเว็บแอพพลิเคชันจะประกอบด้วย 4 ส่วน คือ1) Webserver 2) Google Maps API 3) Mysql Database 4) TML, CSS,JavaScript, jQuery, HTML5 Canvas ผังกระบวนการทำงานภายในประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) แสดงข้อมูลทั้งหมด 2) ค้นหา 3) แสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ และ 4) ส่วนที่ Loin สำหรับ Admin ผลการทดลองใช้และหาคุณภาพของระบบสารานุกรมวารสารวิจัยออนไลน์ด้านการใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องอยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถนำไปใช้ได้จริง มีประโยชน์ สามารถนำองค์ความรู้ที่มีการจัดหมวดหมู่อย่างเป็นระบบไปใช้ต่อยอดในการค้นคว้าอ้างอิง  ข้อมูลสามารถนำไปอ้างอิงได้ ระบบใช้ได้จริงมีความเหมาะสม  ระบบมีความสวยงาม มีความถูกต้อง ข้อมูลองค์ความรู้มีเนื้อหาที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมในการจัดทำระบบองค์ความรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้างานวิจัยทางด้านท้องถิ่นซึ่งจะส่งผลให้มีการพัฒนางานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

กษิด์เดช เนื่องจำนง. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). การจัดการองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษา การทำขันลงหินของชุมชนบ้านบุ. วารสารสารสนเทศ, 18(2), 25-36.
ครุปกรณ์ ละเอียดอ่อน. (2561, กรกฎาคม - ธันวาคม). การจัดการความรู้จากกล้วยเพื่อใช้ประโยชน์ และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกร บ้านหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์, วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 19(2), 37-49.
ธัญรดา ธนสารโสภณ และพีรภาว์ ทวีสุข. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการช าระเงินผ่านสมาร์ทโฟนของ Generation X ในกรุงเทพมหานคร.
วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 20(2), 120-134.
ภัคคิณี จัยพงศ์และคณะ. (2555, กันยายน - ธันวาคม). การพัฒนาสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมจีน ในจังหวัดนครสวรรค์”. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(20),137-148.
ศิริกาญจน์ โพธิ์เขียว. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม ). เทคโนโลยีเว็บสู่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย 4.0.
วารสารสารสนเทศ, 17(2), 9-22.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ และคณะ. (2554). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย
(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Glass, G. V., McGaw, B., & Smith, M. L. (1981). Meta-analysis in social research. Beverly Hills, LA: Sage.
Noblit, G.W. and Hare, R.D. (1988). Meta-ethnography : Synthesizing qualitative studies. Newbury Park: Sage.
Sanders, J. R. et al. (1994). The program evaluation standards. California: Sage.
Seels, B. & Glasgow, Z. (1998). Making instructional design decisions. OH: Columbus.
Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

How to Cite

ไชยสุต ฆ. . (2020). การสังเคราะห์องค์ความรู้ของบทความวิจัยในวารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อจัดทำสารานุกรมวารสารวิจัยออนไลน์. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 19(1), 21–35. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/view/244420