การบริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อท้องถิ่นในยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ, บริการสารสนเทศ, สารสนเทศยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อท้องถิ่นในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตอำเภอเมืองที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่โดยกำหนดประชากรเป็นส่วนอนันต์ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าความต้องการของผู้ใช้บริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อท้องถิ่นในยุคดิจิทัล ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการบริการสารสนเทศด้านการบริการยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.66) ด้านการให้บริการสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการบริการสารสนเทศมากที่สุดในระดับเท่ากันได้แก่ บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มพูนการรู้สุขภาพ (Health literacy) บริการสารสนเทศเกี่ยวกับสิทธิสวัสดิการต่างๆ ตามที่ประชาชนพึงได้รับโดยเชื่อมโยงข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยให้บริการผ่านเทคโนโลยี QR-code และเว็บลิงค์ของห้องสมุด (ค่าเฉลี่ย 3.72) ด้านการจัดบริการสารสนเทศท้องถิ่น ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการบริการสารสนเทศมากที่สุดคือ บริการสารสนเทศทางด้านอุตุนิยมวิทยาและภูมิอากาศแก่ผู้ใช้บริการในท้องถิ่น แจ้งเตือนพยากรณ์อากาศระหว่างวัน หรือปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ เช่น การเกิดฝนตกหรือเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ผ่านทางแอปพลิเคชันในมือถือ (ค่าเฉลี่ย 3.47) ด้านการสงวนรักษาภูมิปัญญาสารสนเทศท้องถิ่น ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการบริการสารสนเทศมากที่สุดคือ บริการสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการแปลงทรัพยากรสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) เพื่อเป็นการอนุรักษ์สงวนรักษาทรัพยากรให้คงอยู่ในระยะยาว (ค่าเฉลี่ย 3.41)
References
แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษาสำนักวิทยาบริการและ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารอินฟอร์เมชั่น, 26(2), 83-101.
ทองอยู่ แก้วไทรฮะ. (2543, มกราคม). การจัดการบริหารและการบริการของห้องสมุดเพื่อ
ดำเนินการตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
วารสารการศึกษานอก โรงเรียน, 3(2), 5-14.
เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2553). สารสนเทศชุมชน: แนวคิดเพื่อการจัดบริการ.
วารสารบรรณศาสตร์มศว, 3, 126-135.
ปราชญ์ สงวนศักดิ์. (2557, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาการให้บริการในรูปแบบ Self-service
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. PULINET, 1(1), 103-106.
ปะราลี ปาละสุวรรณ. (2555). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่องานบริการสารสนเทศของ
บรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปาริชาติ แสงระชัฎ. (2559, ตุลาคม-ธันวาคม). บริการสารสนเทศในห้องสมุดยุคดิจิทัล.
วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(38), 1-10.
มาลี ไชยเสนา. (2549). การพัฒนาบทบาทห้องสมุดประชาชนในสังคมความรู้
(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มุจรินทร์ วุฒิกุล. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). การใช้เทคโนโลยีห้องสมุด 2.0 ในงานบริกา
สารสนเทศของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสาร BU Academic Review, 16(2), 44-58.
สมปอง สุวรรณภูมา. (2559). ความต้องการและความคาดหวังของชุมชนท้องถิ่นเกี่ยวกับการ
ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (รายงานการวิจัย). เลย:
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2554). การดำเนินการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาตามจุดเน้น
การปฏิบัติพันธกิจของสถาบัน. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2560, จาก
http://eng2.rmutsv.ac.th/quality_eng
สุรินทร์ นิยมมางกูร. (2546). เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อนุรักษ์ อยู่วัง และพิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์. (2555, มกราคม). การจัดการคลังสถาบันในห้องสมุด
มหาวิทยาลัย. วารสารบรรณารักษศาสตร์, 33(1), 67-86.
Bunch, A. (1982). Community information service: Their origin, scope and
development. London: Clive Bingley.
Chavalit, Manmas. (1999). Evolution of special information resources. Nontaburi:
Sukhothai Thammathirat University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว