แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, แนวทางการพัฒนา, โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก 3) เพื่อศึกษาแนวทางการการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น จากกลุ่มตัวอย่าง สถานศึกษา 106 โรงเรียน แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา 106 คน และครูผู้สอน 482 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบันเท่ากับ 0.88 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.26 – 0.68 และค่าความเชื่อมั่นสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ 0.89 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.28 – 0.75 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการ จำเป็น ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก จากผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยวิธีการตีความแล้วนำเสนอแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นอยู่ระหว่าง 0.37 – 0.45 3) แนวทางการพัฒนา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้โดยรวม อยู่ในระดับมาก พบแนวทางการพัฒนา 22 แนวทาง แบ่งเป็น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 6 แนวทาง การนิเทศการศึกษา 4 แนวทาง การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยี 4 แนวทาง การจัดการเรียนรู้ 4 แนวทาง และการวัดผล ประเมินผล 4 แนวทาง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ระบบคลังข้อมูลกลางด้านการศึกษา. สืบค้น 4 สิงหาคม 2563.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่10). สุวีรริยาสาส์น.
ปรียาภัสสร์ เส็งเส. (2554). การนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอไพศาลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์]. http://ns.nsru.ac.th/bitstream/nsru/
/1/Paphawadee_Phongam.pdf
ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). ตักสิลาการพิมพ์.
ลัดดา เพ็งผล. (2556). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์]
http://gs.nsru.ac.th/NSRUNC/research/pdf/19.pdf
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2559). รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ สภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง การปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญา. สืบค้น 4 สิงหาคม 2563.
https://dl.parliament.go.th/browse?value=รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ สภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง การปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. ห้างหุ้นส่วนภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579.
ผู้แต่ง.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2559). การประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสารสนเทศ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว