การวิจัยกระบวนการพัฒนาทักษะการสืบค้น ของนิสิต ปี 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
การสืบค้น, ทักษะการรู้สารสนเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้พัฒนาทักษะการสืบค้นที่สามารถติดตัวและทำได้ด้วยตนเองและเพื่อให้ได้ข้อมูลวิธีการและเวลาที่ใช้ในการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลของนิสิตเป็นรายบุคคล กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวม 101 คนการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดคุณลักษณะ 2) แบ่งขั้นตอนในการพัฒนาทักษะการสืบค้นให้นิสิตตามความเหมาะสม 3) ประเมิน/ติดตามทักษะเป็นรายบุคคลและการเก็บข้อมูลทักษะตามองค์ประกอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ใบงาน และแบบสำรวจกระบวนการสืบค้นและทักษะการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่พัฒนาทักษะการสืบค้นที่สามารถติดตัวและทำได้ด้วยตัวเองหลังจากได้รับการฝึกอบรม จากการวิจัยครั้งนี้ ข้อค้นพบในกระบวนการสืบค้นสารสนเทศ คือ นิสิตมีขั้นตอนการจบ (หรือการสรุป) น้อยที่สุด และในส่วนทักษะการสืบค้น นิสิตมีทักษะด้านการประเมินค่าความเชื่อถือของเนื้อหาสารสนเทศน้อยที่สุด เป็นประเด็นที่ควรพัฒนาอย่างเร่งด่วน
References
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
น้ำทิพย์ วิภาวิน และนงเยาว์ เปรมกมลเนตร. (2551). นวัตกรรมห้องสมุดและการจัดการความรู้. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพร พุทธาพิทักษ์ผล. (2546). การจัดการสารสนเทศ ใน ประมวลชุดวิชาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการสารสนเทศ หน่วยที่ 1 (หน้า 1-33). สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว