ภาพลักษณ์และบทบาทผู้หญิงจากเพลงลูกทุ่งในปี พ.ศ. 2557 – 2561

ผู้แต่ง

  • สมบัติ สมศรีพลอย
  • ธิดาวัฒน์ สุพุทธิกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ภาสินี คำสีสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์, บทบาทผู้หญิง, เพลงลูกทุ่งไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์และบทบาทของผู้หญิงสมัยใหม่ในบทเพลงลูกทุ่งไทยในปี พ.ศ. 2557–2561 จำนวนเพลงทั้งหมด 59 เพลง ผลการศึกษาพบว่าด้านภาพลักษณ์สามารถวิเคราะห์ได้ 4 ประเด็น ดังนี้ 1) ภาพลักษณ์ผู้หญิงในด้านที่ไม่ซื่อสัตย์ ผิดศีลธรรม ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่พบมากที่สุด ได้แก่ นอกใจผู้ชาย ไม่สนใจคู่รักของตนเองหรือหมดรัก 2) ภาพลักษณ์ผู้หญิงในด้านการพูดจาเชิงลบ ซึ่งพบรองลงมา ได้แก่ การด่าทอ ตัดพ้อผู้ชาย ด่าผู้ชายเป็นสัตว์ การพูดในเชิงกระแหนะกระแหน ประชดประชัน และ 3) ภาพลักษณ์ผู้หญิงในด้านกล้าแสดงออก มีความมั่นใจ เช่น ผู้หญิงที่กล้าแสดงความรักและความต้องการ ส่วนบทบาทของผู้หญิงพบว่ามี 2 ประเด็น คือ 1) บทบาทด้านการสร้างอำนาจต่อรองทางเพศ ซึ่งเป็นบทบาทที่พบมากที่สุด ได้แก่ ผู้หญิงที่มีอิสระทางความคิด ผู้หญิงที่เข้มแข็งรักศักดิ์ศรีตนเอง และ 2) บทบาทของผู้หญิงด้านการเป็นคนรัก ได้แก่ ผู้หญิงที่ซื่อสัตย์ต่อคนรัก ผู้หญิงนอกใจ และคนรักชั่วคราว

References

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: หนวยศึกษานิเทศกกรมการฝึกหัดครู.
ปวิณรัตน์ จันทร์สดใส. (2554). บทบาททางสังคมของสตรีในบทเพลงลูกทุ่งไทย
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สันติ ทิพนา, ราตรี ทิพนา. (2560, ธันวาคม). วาทกรรมผัวเมียในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งอีสานที่มี
อิทธิพลต่อสังคมไทย. วารสารวิชาการ กสทช,1(1), 1-18.
อภิวัฒน์ สุธรรมดี. (2550). การศึกษาวิเคราะห์เพลงลูกทุ่งที่จินตหรา พูนลาภ ขับร้อง.
(ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
----------. (2556). ภาพชีวิตสตรีในเมืองหลวงจากบทเพลงลูกทุ่งที่แต่งโดยสลา คุณวุฒิ. ทีทัศน์วัฒนธรรม,12(1), 75-88.
อรวรรณ ชมดง, อรทัย เพียยุระ. (2557). เพศวิถีและสังคมไทยในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง.
วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์,3(2), 77-98.
เอี่ยม อามาตย์มุลตรี. (2560, กรกฎาคม-พฤศจิกายน). กลวิธีทางภาษา : การสื่อความทางเพศใน
เพลงลูกทุ่งอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด,6(2), 196-205

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite

สมศรีพลอย ส. . ., สุพุทธิกุล ธ. . ., & คำสีสุข ภ. . (2020). ภาพลักษณ์และบทบาทผู้หญิงจากเพลงลูกทุ่งในปี พ.ศ. 2557 – 2561. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 19(1), 139–148. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/view/244445