สมการคอร์รัปชัน แก้โจทย์ บวก ลบ คูณ หาย ในสังคมไทย

Authors

  • ศรันย์ดิษฐ์ เบญจพงศ์ Bansomdejchaopraya Rajabhat University

Keywords:

สมการ, สมการคอร์รัปชัน, คอร์รัปชัน

Abstract

ศาสตราจารย์โรเบิร์ต  คลิตการ์ด (Robert Klitgaard) นักเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย Claremont Graduate University (CGU) ประเทศสหรัฐอเมริกา เสนอกรอบแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตในรูปแบบของสมการ เรียกว่า “สมการคอร์รัปชัน”

C = M + D + A

          C คือ Corruption (คอร์รัปชัน) M คือ Monopoly (การผูกขาด) D คือ Discretion (ดุลยพินิจ) และ A คือ Accountability (กลไกความรับผิดชอบ) สมการแสดงให้เห็นว่า ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจะเพิ่มขึ้น
หากระบบเศรษฐกิจมีการผูกขาดกับมีการใช้ดุลยพินิจสูงเกินไป ตรงกันข้าม หากความรับผิดชอบมากขึ้น โอกาสที่คอร์รัปชั่นจะลดลงจะมีมากขึ้น ดังนั้น สังคมต้องเข้าใจตัวแปรสมการและพยายามบวก (+) กลไกความรับผิดชอบ ลบ (-) การผูกขาดและการใช้ดุลยพินิจที่ไม่เหมาะสม

          หนังสือ “สมการคอร์รัปชัน: แก้โจทย์ บวก ลบ คูณ หาย ในสังคมไทย”ผลงานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 2 มีจำนวน 200 หน้า เนื้อหาหนังสือเป็นความพยายามขยายความเข้าใจประเด็นคอร์รัปชันตามแนวคิดสมการคอร์รัปชั่นของศาสตราจารย์
โรเบิร์ตคลิตการ์ด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทย ผ่านคำให้สัมภาษณ์ของนักวิชาการ      ภาคธุรกิจ ภาคสังคม และสื่อมวลชน โดยใช้ตัวแปรทั้งสาม คือ การผูกขาด การใช้ดุลยพินิจ และกลไก     ความรับผิดชอบ เป็นตัวเดินเรื่อง ทำให้ประเด็นปัญหาคอร์รัปชันที่ซับซ้อน สามารถทำความเข้าใจได้ยากนัก นำไปสู่การค้นหาคำตอบว่าสังคมควรทำอย่างไรเพื่อลดคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ และตอนท้ายของหนังสือได้เสนอแนวคิด “การเมืองแบบเปิด” หลักการพื้นฐานที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส ซึ่งจะเป็นรากฐานของการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อให้ผู้อ่านนำไปคิดต่อยอดความรู้ได้ต่อไป

References

พีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์. (บ.ก.). (2560). สมการคอร์รัปชัน แก้โจทย์ บวก ลบ คูณ หาย ในสังคมไทย
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI).

Downloads

Published

2019-12-11

Issue

Section

บทวิจารณ์หนังสือ