Students’ Culture Behavior in the Age of Thailand 4.0
Keywords:
ไทยแลนด์ 4.0, การค้าเสรีAbstract
ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีความรวดเร็วเป็นอัตราทวีคูณทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ไม่หยุดยั้ง โลกไร้พรมแดนเชื่อมต่อกันได้ทั่วทุกส่วนของมุมโลกทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็วเพียงกระพริบตาการแข่งขันด้านการค้า การเปิดการค้าเสรี เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ ด้านชีวิตของมนุษย์ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแต่ละกลุ่มในสังคม ที่สามารถแทรกซึมไปได้ทุกจุด “ประเทศไทยต้องก้าวสู่ Thailand 4.0” เป็นสิ่งที่ทุกคนรับทราบถึงการก้าวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยประกอบด้วยการเริ่มต้นยุค Thailand 1.0 เป็นช่วงของการลงทุนภาคเกษตรกรรมและกสิกรรม ยุค Thailand 2.0 เริ่มมุ่งเน้นที่อุตสาหกรรมเบา ด้วยการใช้แรงงานจำนวนมากแทน เช่น เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ ยุค Thailand 3.0 เริ่มเป็นยุคอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีสูง เน้นเรื่องชิ้นส่วนยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น สำหรับการลงทุนเริ่มขยายไปลงทุนต่างประเทศแต่ประเทศไทย ยึดติดกับยุค Thailand 3.0 เป็นเวลานาน เนื่องจากความเหลือมล้ำด้านความร่ำรวย กับดักรายได้ปานกลางทำให้เกิดการขาดความไม่สมดุลในการพัฒนาส่งผลให้รัฐบาลเร่งรัดการพัฒนาให้ก้าวข้าม จากยุค Thailand 3.0 ไปสู่ยุค Thailand 4.0 เพื่อผลักดันประเทศหลุดพ้นกับดักที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 10-15 ปี ดังนั้นยุคThailand 4.0 จึงเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม คือ การเปลี่ยนจากอดีตลงมือทำมาก ได้ผลตอบแทนน้อย มาเป็นการลงมือทำน้อย ๆ แต่ได้ผลตอบแทนมหาศาล ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดันและการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วย เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าไปสู่การบริการมากขึ้น
References
กังวาน ทองเนตรประการ. (2558). หัวใจนักพูดสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดมืออาชีพ โดย ศึกฤทธิ์. สืบค้น 10 มิถุนายน 2562, จาก https://board.palungjit.com/
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). ประเทศไทย 4.0 กับทุนทางวัฒนธรรม. สืบค้น 25 มิถุนายน 2562, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639453
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว