การวิเคราะห์สภาวะหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ประเทศไทย

Main Article Content

สวรรณ วิจิตรสุข
วิจิตต์ศรี สงวนวงศ์

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะหนี้สินครัวเรือนและสภาวะหนี้สินของเกษตรกรของประเทศไทยปี 2560 เพื่อศึกษาสภาวะหนี้สินสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการก่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ 14 จังหวัด จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่า IOC เท่ากับ 0.91 และทดสอบค่าความเชื่อมั่นได้ค่าแอลฟา เท่ากับ 0.914 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอย  โลจิสติกเชิงอันดับ ผลการวิจัย พบว่า ครัวเรือนประเทศไทยปี 2560 มีหนี้สินร้อยละ 50.7 โดยมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 178,994 บาท ครัวเรือนเกษตรกรไทย ปี 2560 มีหนี้สินร้อยละ 67.0 โดยมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 160,587 บาท สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ ร้อยละ 52.5 มีหนี้สินอยู่ระหว่าง 10,000-100,000 บาท และร้อยละ 18.2 มีหนี้สินมากกว่า 200,000 บาท และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการก่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้ คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และระดับการศึกษา 2) ปัจจัยด้านค่านิยม/ทัศนคติ ได้แก่ การรู้จักบริหารเงิน/การวางแผนจัดการการเงิน(รับ-จ่าย) ทำให้การก่อหนี้ลดลง 3) ปัจจัยด้านความจำเป็นในการบริโภค/อุปโภค ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล/โรคประจำตัว และความต้องการปัจจัยสี่ (อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค) ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย คือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้สามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนด้านการเงิน และสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้สามารถนำผลการศึกษาไปกำหนดนโยบายการให้สินเชื่อแก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคใต้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Bank of Thailand. (2018). rāingān nayōbāi kānngœ̄n 2561. [Monetary policy Report 2018]. Bangkok: Bank of Thailand. Retrieved from https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/ MPR/DocLib/MPR_September2561_4WISE39.pdf.
Bank of Thailand. (2019). rāingān nayōbāi kānngœ̄n 2562. [Monetary policy Report 2017]. Bangkok: Bank of Thailand. Retrieved from https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/ MPR/BOX_MPR/1BOXMPR_TH_December2562.pdf
Bank of Thailand. (2019). khrư̄ang chī sētthakit mahaphāk khō̜ng Thai nưng. [Thailand’s Macro Economic indicators]. Retrieved from https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx? reportID=409&language=th.
Cooperative Auditing Department. (2018). rāingān phon kāndamnœ̄n ngān læ thāna kānngœ̄n sahakō̜n kān kasēt pračham pī 2560. [Performance and Finance Report of Agricultural Cooperatives 2017]. Bangkok: Cooperative Auditing Department. Retrieved from https://www.cad.go.th/ewtadmin/ ewt/statistic/download/report_info/60/kaset_2_60.pdf.
Cooperative Auditing Department. (2018). phonlakā rō̜dam nœ̄n ngān sahakō̜n pračham pī 2560. [Cooperative Performance Report 2017]. Bangkok: Cooperative Auditing Department. Retrieved from https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/statistic/download/sahakorn_60/ Data60/ in60/ in_1_60.xlsx.
Jame S. Duesenberry. (1959). Income, saving, and the theory of consumer behavior (Harvard economic studies). Harvard University Press.
Keynes, J.M. (1936).The General Theory of Employment, Interest and Money, London: Macmillan;The Collected Writings of John Maynard Keynes, Vol. 6.
Mingmaneenakin W.(2008). Lak sētthasātmaha phāk. [Macroeconomics]. Bangkok: Thammasat University, Thailand.
National Statistical Office. (2017). rāidai læ kārok ra čhā yō̜ rāidai khō̜ng khrūarư̄an Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip radap čhangwat. [Provincial Households Income and Income Distribution in 2017]. Bangkok: National Statistical Office. Retrieved from http://service.nso.go.th/nso/ nsopublish/pubs/e-book/Income-Households-2560/index.html#143.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). sarup sāra samkhan phǣn phatthanā sētthakit læ sangkhom hǣng chāt chabap thī sip sō̜ng Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip sō̜ngphanhārō̜ihoksipsī. [Summary of Twelfth National Economic and Social Development Plan 2017 – 2021]. Retrieved from https://www.nesdb.go.th/download/plan12.pdf.
Phocaphanit S. and Kenaphoom S. (2017). kānsưksā khwāmkhithen kīeokap patčhai thī song phon tō̜ phāra nīsin khō̜ng kasēttrakō̜n ʻamphœ̄ thā bō̜ čhangwat nō̜ngkhāi. [Factors Affecting Debt Burden of Farmers ThaBo District NongKhai]. Journal of MCU Peace Studies Special Issue, 192-201. Maha Sarakham: Maha Sarakham Rajabhat University, Thailand.
Tairuakum S. (2009). rabīap withī wičhai samrap manutsayasāt læ sangkhommasāt. [Research methodology for social sciences and humanities]. 3rd. edition. Maha Sarakham: Maha Sarakham University, Thailand.