การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินด้านการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินด้านการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี 2) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินด้านการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยการศึกษาจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 ออกแบบและสร้างระบบสารสนเทศ โดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussion) และขั้นที่ 3 ทดลองใช้ระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ตามขนาดจำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบในการประเมินผลการปฏิบัติงาน และครูผู้ช่วย โรงเรียนละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ โดยให้ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบในการประเมินผลการปฏิบัติงาน และครูผู้ช่วย ทดลองใช้ระบบและประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินด้านการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 การออกแบบ ด้านที่ 2 กระบวนการทำงาน และด้านที่ 3ผลลัพธ์หรือการรายงานผลการประเมิน 2) ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.43, S.D. = 0.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านผลลัพธ์หรือการรายงานผลการประเมิน มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.58, S.D. = 0.09) และมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี 2 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการออกแบบ ( = 4.40, S.D. = 0.12) และด้านกระบวนการทำงาน ( = 4.32, S.D. = 0.15) ตามลำดับ
Article Details
References
จันเพชร ดายังหยุด. (2556). สภาพและปัญหาในการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชัชพลวานิช เพชรดง. (2556). การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
เชิญพัดชา พรหมราชแก้ว. (2556). สาเหตุที่มีผลต่อความเครียดของครูผู้ช่วยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนวัฒน์ พินนอก (2559). การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศด้านคุณภาพผู้เรียนเพื่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
ธัชญา แสงศรี. (2556). กระบวนการพัฒนาเครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติวิชาชีพของครูผู้ช่วย. วิทยานิพนธ์xปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นพดล ศิริทรัพย์. (2556). ระบบสารสนเทศกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พยัพ อนันนิล. (2557). รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
พัชรี กึกขุนทด. (2557). ความท้อแท้ของครูผู้ช่วยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภานุมาศ พฤกษชาติ. (2556). ความเครียดของครูผู้ช่วยในสถานศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สิยาพัฐ รักป่า. (2556). การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการนิเทศภายในโรงเรียนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
อภิวัฒน์ บุญนิธิภัทร. (2554, กรกฎาคม - ธันวาคม). สภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1(2), 31-38.
อัญชลี อุดรกิจ. (2557). สภาพและปัญหาในการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
Best, J. W. (1981). Research in education. New Jersey : Prentice Hall.
Houle, C. (1996). The Design of Education. Sanfrancisco : Jossey-Bass.
Knowles, M S. (1980). The Modem Practice of Adult Education from Pedagogy to Andragogy. New York : The Adult Education Company.
Likert, R. (1961). New patterns of management. New York : McGraw – Hill Book Company Inc.
Simon, H. A. (1960). Administrative Behavior. New York : The McMillen Company.
Susan, M. (2003). The Importance of Profession Culture in New Teachers’ Job Satisfaction. Annual Meeting of the American Educational Research Association, Montreal, Canada.
Watzke, J. L. (2007). Foreign Language Pedagogical Knowledge : Toward a Developmental. Theory of Beginning Teacher Practices. The Modern Language Journal. 91(1) : 63-82.
William, B. W. (1990). Canadian Human Resource Management. Toronto McGraw-Hill Ryerson.
Wu, Ming-Chuan. (2004). “Continuous Evaluation of Information System Development : A Reference Model,” Dissertation Abstracts International. 64 : 2569-A.