ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมกับโครงการด้านศิลปวัฒนธรรม ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

สุรชัย ทุหมัด
กิตติคุณ แสงนิล
ธีรวัฒน์ จันทึก

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมกับโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยทั้งทางตรงและทางอ้อม 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมกับโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยตามสมมติฐานที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 300 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.45-0.91 และมีค่า              ความเชื่อมั่นของครอนบาค อยู่ระหว่าง .82-.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


    ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยมีค่า c2= 44.26 df = 34 P-value = 0.10 GFI = 0.97 AGFI = 0.96 CFI = 0.98 SRMR = 0.02 RMSEA = 0.05 และ     2) ปัจจัยที่ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมกับโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมของนิสิตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การติดต่อสื่อสารภายในบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัย เจตคติต่อการมีส่วนร่วม และแรงจูงใจในการทํากิจกรรม ตามลำดับ และบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2 เส้นทาง    โดยเส้นทางที่ 1 ผ่านเจตคติต่อการมีส่วนร่วม และเส้นทางที่ 2 ผ่านแรงจูงใจในการทำกิจกรรม และปัจจัยเชิงสาเหตุสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการมีส่วนร่วมกับโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมของนิสิตได้ร้อยละ 49

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

จตุรวัฒน์ ผนึกรัมย์. (2557). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีการศึกษา 2556. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. (2556). การพัฒนาสื่อบทเรียนอิเล็คทรอนิกส์ : สุนทรียศาสตร์ร่วมสมัย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ.15(1), 67.
พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ : ด่านสุธาการพิมพ์.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2556). โมเดลสมการโครงการ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิชย์.
วลัยทิพย์ เปรมทวีธนโชติ. (2557). การศึกษาลักษณะของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษากับคุณลักษณะด้านจิตอาสาของนิสิตนักศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 7(3), 819-833.
วีรเทพ สุดแดน ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ และปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง. (2556). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนิสิต. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 3(3), 27-32.
ศศิธร สิทธิพรหม. (2559). การรับรู้และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(2), 237–258.
ส่วนส่งเสริมและบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2560). สถิติการลงทะเบียนนิสิต ปีการศึกษา 2559.สืบค้นเมื่อ มกราคม 2560, จาก https://edservice.oop.swu.ac.th/.
สุรชัย ทุหมัด. (2559). รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามพันธกิจสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เอกสารรายงานประกอบโครงการสัมมนาทบทวนแผนยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เสมอ จุ่นเจริญ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในเขตเทศบาลจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี. 6(2), 177–183.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2560, จาก www.krusmart.com/national-education-plan-2560-257/.
อมรเทพ สีนวนสูง. (2559). ความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. Veridian E-Journal. 9(1), 1,053–1,065.
Astin, A. W. (1984).The Theory of Parcitipatory of Student. Retrived January 2017, from www.gotoknow .com/ posts .
Arthur, W. C & Reiser, L. (1993). Education and Indentity 2ndEd. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.
Cohen, J.M. & Uphoff N.T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementationand Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.
Cummings, T. G., & Worley, C. G. (2008). Organization Development & Change, 9th Ed., Cengage Learning : South-Western Cengage Learning.
Fornaroff, A. (1980). Community Involvement in Health System for Primary Health Care. Geneva: World Health Organization.
Gamson, W.A. (1992). The social psychology of collective action. In A Morris & C. Mueller (Eds.), Frontiers of social movement theory.New Haven: Yale University Press.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L.(2010).Multivariate data analysis 6th Ed. Upper Saddle River . New Jersey : Prentice Hall.