การเปลี่ยนแปลงของวงซายวายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องดนตรีของวงซายวายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 2) การเปลี่ยนแปลงด้านบทบาทหน้าที่ของวงซายวายในพิธีกรรมและการแสดง โดยการเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับวงซายวายในเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ด้วยวิธีการสังเกต และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่กำหนดและนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านเครื่องดนตรีของวงซายวาย มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องคุณลักษณะของเครื่องดนตรี มีการเพิ่มเสียงใน ปัตวาย เจวาย มองซาย และมีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีสีโด่จากเคยมี 1-2 ลูก เป็น 4-7 ลูก เป็นการพัฒนาการบรรเลงของวงซายวายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2) ด้านบทบาทหน้าที่ของวงซายวายในพิธีกรรม และการแสดง ในอดีตวงซายวายเป็นวงดนตรีที่ใช้ประกอบงานราชพิธี หลังสิ้นสุดการปกครองแบบกษัตริย์ วงซายวายที่ใช้บรรเลงประกอบงานราชพิธีก็สูญหายไป วงซายวายในขบวนแห่ก็มีการเปลี่ยนแปลงในด้านพาหนะจากการเดินในขบวนแห่ของกษัตริย์ มาเป็นการบรรทุกบนเกวียนตามแบบชาวบ้าน และการบรรทุกบนรถยนต์ ในปัจจุบันมีการนำคีย์บอร์ดไฟฟ้ามาบรรเลงทำนองของเพลงแทนปัตวายในการแห่ และนำเครื่องดนตรีสากลมาบรรเลงร่วมกับวงซายวาย ด้านการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงประกอบการแสดงสำหรับประชาชนทั่วไปได้นำวงดนตรี และบทเพลงแบบสากลมาร่วมบรรเลงควบคู่กับวงซายวาย เช่น การแสดงซัตปแว และอะเญ่ง ทั้งนี้เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง ส่วนการแสดงโย๊ะเต มีการเปลี่ยนแปลงจากเป็นการแสดงใน ราชสำนัก มาเป็นการแสดงในโรงละครเพื่อใช้ต้อนรับนักท่องเที่ยว มีการเปลี่ยนรูปแบบการแสดงให้สั้นลง และยังคงใชัวงซายวายแบบดั้งเดิมเหมือนในอดีต
Article Details
References
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2551). ดนตรีลาวเดิม. ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มองซิเออร์ เดอร์ ลาลูแบร์. (2552). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 3. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. นนทบุรี : ศรีปัญญา
วิรัช นิยมธรรมและอรนุช นิยมธรรม. (2551). เรียนรู้สังคมวัฒนธรรมพม่า. พิษณุโลก : โรงพิมพ์ตระกูลไทย.
สำเริง ปานดิษฐ์. (2560). ดนตรีพม่าในการแสดงพระธรรมเทศนา: กรณีศึกษาวงซายวายคณะเซ่ยเมี๊ยะโจว วัดไทยวัฒนาราม ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 99-107.
Department of Art, Ministry of culture. (1998). Ancient Myanmar music instruments (In Myanmar). Myanmar : Ministry of culture.
Garifas, R. (1985). The development of modern Burmese Hsaing Ensemble. Asian Music, 16(1), 1–28.
Gibbs, J., Harnish, D., Miller, E. T., Murray, D., Sooi, B. T. & Kit, Y. (2013). Longing for the past. Atlanta : Dust-To-Digital Longing For The Past.
Naing, Y. K. (2014). The art of Myanmar traditional puppetry Ma Ma Naing (Mandalay Marionettes). Yangon : Mann Chaung Publishing.
Khin, Z. (2006). Myanmar culture. Yangon : Today Publishing House Ltd.
U Learn Publishing house. (n.d.). Myanmar Saing Waing. Yangon : U Learn Publishing house.
Ye, D. (2014). Myanmar dance and drama. Yangon : Today Publishing House Ltd.