กลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม และแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและลักษณะทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ2)ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลภาคสนาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตและการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตีความหาข้อสรุป นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มชาติพันธุ์ลาวที่ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยามี 2 หมู่บ้าน คือ บ้านต้นโพธิ์ และบ้านไผ่หนอง ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาษาลาวที่ในการสื่อสารพบในกลุ่มผู้สูงอายุ 4-5คนเท่านั้น ประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ คือ พิธีไหว้ครูบูชาเตา พิธีไหว้พระวิษณุกรรม ประเพณีตักบาตรดอกไม้ และภูมิปัญญาการทำมีดอรัญญิก และ2) การศึกษาแนวทางการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในพื้นที่ควรประกอบด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ และการเรียนรู้การทำมีดอรัญญิก
Article Details
References
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2559). วิสัยทัศน์/พันธกิจ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2559, จาก http://ww2.ayutthaya.go.th/content/vision.
ชานนท์ วิสุทธิชานนท์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านในตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชุมชนบ้านไผ่หนอง. (2553). ประวัติหมู่บ้านไผ่หนอง. พระนครศรีอยุธยา : บ้านหว้า.
ณัฐพจน์ โพธิ์เจริญ, สุพรรณี เหลืองบุญชู, และปัทมาวดี ชาญสุวรรณ. (2559). การสืบทอดและอนุรักษ์ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(1), 9-23.
บัญญัติ คำศรี. (2559, 21 เมษายน). ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านไผ่หนอง ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [สัมภาษณ์].
บัญญัติ คำศรี. (2559, 28 เมษายน). ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านไผ่หนอง ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [สัมภาษณ์].
ประพันธ์ แสงทองดี. (2559). การศึกษาการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ, 5(1), 40-44.
วรภพ วงศ์รอด. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(26), 13-28.
สัจจา ไกรศรรัตน์. (2555). วัฒนธรรม 8 ชาติพันธุ์จังหวัดราชบุรีในบริบทของการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวนานาชาติ, 8(2), 19-32.
สำนักงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2559). รายงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม, 2559 จาก http://ayuttaya.nso.go.th/.