การใช้โปรแกรมบัญชีการเงินโรงเรียน ในการปฏิบัติงานการเงินในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

วิวัฒน์ อินทร์ติยะ
ชาญวิทย์ หาญรินทร์
รชฏ สุวรรณกูฎ

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการใช้โปรแกรมบัญชีการเงินโรงเรียน ในการปฏิบัติงานการเงินในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 2) เปรียบเทียบความต้องการใช้โปรแกรมบัญชีการเงินในการปฏิบัติงานการเงินในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำแนกตามสถานภาพและประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่าง เป็น ผู้บริหารและครูปฏิบัติงานการเงินในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 222 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.60–0.86 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย t -test และ F-test


      ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการใช้โปรแกรมบัญชีการเงินโรงเรียน ในการปฏิบัติงานการเงินในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูปฏิบัติงานการเงินในโรงเรียน สังกัดสำนักงานประถมศึกษานครพนม เขต 1 ที่มีสถานภาพต่างกัน มีความต้องการใช้โปรแกรมบัญชีการเงินโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และผู้บริหารสถานศึกษาและครูปฏิบัติงานการเงินโรงเรียน ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความต้องการใช้โปรแกรมบัญชีการเงินโรงเรียนในการปฏิบัติงานการเงินในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กรรณิการ์ ใจหาญ. (2558). ปัญหาการบริหารงานการเงินและบัญชีของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ปฏิบัติงานการเงิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
จีรนันท์ สมน้อย. (2559). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ทองใบ สุดชารี. (2546). ทฤษฎีองค์การวิเคราะห์แนวความคิดทฤษฎีและประยุกต์. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2551). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม : มหาวิทยามหาสารคาม.
ยุทธนากร แก้วกัลยา. (2556). ศึกษาและแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานการเงินโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลัดนา ชาววังกรานต์. (2557). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปศุสัตว์ เขต 1 กรมปศุสัตว์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2556). การบริหารงบประมาณสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วลีพร จิตรพงษ์. (2556). ICT กับนักบัญชีมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิไล ทองแผ่. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. ลพบุรี : ศูนย์การพิมพ์สถาบันราชภัฎเทพสตรี.
สุกิจ เชิดสถิรกุล. (2556). ความต้องการของผู้ทำบัญชีโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2558). รายงานการตรวจสอบภายในปีงบประมาณ 2558. นครพนม : นครพนมการพิมพ์.
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2557). วินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ.2544. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง.
หน่วยงานตรวจสอบภายใน. (2555). คู่มือการบัญชี สำหรับหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2515. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Suetomi, K. (2014). Reform of the educational finance system as the foundation of compulsory education. Educational Studies in Japan : International Yearbook, 8 ; 143-158.