การสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรตามแนวทางการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ : กรณีศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ และการจัดการท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Main Article Content

ไชยา เกษารัตน์
วิศรุตา ทองแกมแก้ว
บูฆอรี ยีหมะ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการท้องถิ่น ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ 1) ผู้ที่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อหลักสูตรในระดับสูง คือ ผู้ใช้บัณฑิตภาครัฐ 13 คน 2) ผู้ที่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อหลักสูตรค่อนข้างน้อย คือ ผู้ใช้บัณฑิตภาคเอกชน 6 คน 3) ผู้ที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตรน้อยแต่มีผลกระทบต่อหลักสูตรในระดับสูง คือ นักวิชาการ และนักศึกษาปริญญาตรี 36 คน และ 4) ผู้ที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตรในระดับสูงแต่มีผลกระทบต่อหลักสูตรค่อนข้างน้อย คือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570 แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา พ.ศ.2566-2570 ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พ.ศ.2566-2570 ยุทธศาสตร์การพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พ.ศ.2566-2570 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้สอน 16 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร คือ PLO1 เชื่อมโยงความสัมพันธ์แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์อย่างถ่องแท้เพื่อเป็นฐานในการออกแบบนโยบายสาธารณะ PLO2 ประยุกต์ใช้ทักษะการสื่อสารและเครื่องมือหรือเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านกระบวนการวิจัยทางนโยบายสาธารณะเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาท้องถิ่นได้อย่างเชี่ยวชาญ PLO3 ออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการปัญหาท้องถิ่นได้อย่างเชี่ยวชาญ PLO4 บูรณาการองคาพยพเพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่นภายใต้ หลักธรรมาภิบาล PLO5 แสดงออกถึงการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อผลประโยชน์ของท้องถิ่น และ PLO6 สร้างความรู้ใหม่ทางรัฐประศาสนศาสตร์ผ่านทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศในการออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่นด้วยกระบวนการวิจัยอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Chayapiwat, P. (2021). Problems in the Implementation of Government 4.0 Policy A Case Study of Local Administrative Organizations in the Three Southern Border Provinces of Thailand (Unpublished master’s thesis). Prince of Songkla University, Songkhla, Thailand.

Cheawjindakarn, B. (2018). Qualitative Case Study Research Techniques. Liberal Arts Review, 13(25),103-118.

Kaewbut, P. (2021). The Study of Chinese Curriculum Development in Accordance with the OBE guidelines : A Case study of Chinese for business communication program, Prince of Songkla University, Surat Thani Campus. Journal of Liberal Arts Prince of Songkla University, 13(1),236-264.

Kevany, S. (2020). Enabling the Sharing of Original, Timely and Creative Macro-and Micro-Level Response Concepts, Systems, and Ideas. Retrieved June 2023, from http://www.jstor.org/stable/resrep24869

Parinyasutinun, U. (2019). Public Policy and Bang Rieang Community : Reviewed Issues for Success and Sustainability of Policy Driving. Humanity and Social Science Journal, Ubon Ratchathani University, 10(1),91-120.

Prutipinyo, C., Pobkeeree, V., Sirichotiratana, N., Marneejamsai, P. & Kumboonsri, S. (2022).Guidelines for the Development of Graduate Programs in Public Health Administration. Journal of Council of Community Public Health, 4(3),12-21.

Rergchai, E. (2020). Implementation of the Coronavirus Disease 2019 Prevention Policy (COVID 19) A Case Study of Lam Sai Sub-District Administration Organization, Wangnoi District, Phra Nakhon Si Ayutthaya (Unpublished master’s independent study). Ramkhamhaeng University, Bangkok, Thailand.

The Commission on Higher Education Standards. (2022). Announcement of The Commission on Higher Education Standards : Details of Learning Outcomes as Qualifications Framework for Higher Education, 2022. Retrieved September 2022, from https://www.ops.go.th/th/ches-downloads/edu-standard/item/6940-2022-07-22-02-54-49