ธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย : ความท้าทายและโอกาสสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
ธุรกิจเพื่อสังคม, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, ความท้าทายและโอกาส, ประเทศไทยบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิชาการ ที่มีจุดประสงค์หลักในการนำเสนอเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสังคม (Social enterprise) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development goals: SDGs) และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนให้เกิดการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดกฎหมายและนโยบาย การมอบสิทธิประโยชน์และสนับสนุนเงินทุน ถึงอย่างนั้นธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยก็ยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน เช่น การขาดแคลนเงินทุน ความรู้ด้านการจัดการ และการขาดการสนับสนุนจากสังคม โดยเฉพาะการรับรู้ถึงประโยชน์ของธุรกิจเพื่อสังคมที่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงกว้าง แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจเพื่อสังคมก็ยังมีโอกาสเติบโตจากการสนับสนุนขององค์กรต่าง ๆ และแนวโน้มผู้บริโภคที่สนใจสินค้าและบริการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลกระทบของธุรกิจเพื่อสังคมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน ดังนั้นบทความนี้จึงมีจุดมุ่งเน้นเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความท้าทายและโอกาสของธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางสำหรับการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมให้มีความยั่งยืนและสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมประเทศไทยในอนาคตได้
References
กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล, วรนุช สิปิยารักษ์, พินทุสร โพธิ์อุไร, อนงค์ลักษณ์ พันธุ์พรหมธาดา และ จันทิมา นวะมะวัฒน์.(2562). กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 251-262.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). พระราชบัญญัติส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562.
จีระ พุ่มพวง. (2564). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 : ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฉวีวรรณ เกียรติโชคชัยกุล. (2563). ธุรกิจเพื่อสังคมของสหกรณ์การเกษตรตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 118-132.
ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย, ณรงค์ กุลนิเทศ และนภัสสรณ์ สุพัฒน์อัญพร. (2564). ผลสัมฤทธิ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 9(3), 1179-1191.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2563). การตลาดบริการ Service Marketing. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
บุษกร ปังประเสริฐ, อารีย์ นัยพินิจ และภัทรวดี เพิ่มวณิชกุล์. (2563). การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย: วิธีการวิจัยแบบผสม. วารสาร BU Academic Review, 19(2), 73-87.
ยุทธนา คล้ายอยู่, ณัฐปภัสร์ ฤทธิ์วัฒนวาณิช, สุรัชฎา เมฆขลา และเกวลี แก่นจันดา. (2566). บริการวิชาการเพื่อสังคมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตำบลนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 12(1), 176–187.
ศราวุธ นาควิทยานนท์, ศยามล เจริญรัตน์ และอุ่นเรือน เล็กน้อย. (2565). แนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยตามหลักการของมูฮัมหมัด ยูนุส. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 144-159.
สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ. (2563). SE CATALOG รวมกิจการ เพื่อสังคมในไทย.
Alter, K. (2007). Social Enterprise Typology. Virtue Ventures LLC.
Klerk, S., & Kroon, J. (2008). Business networking relationships for business success. South African Journal of Business Management, 39(2), 25-35.
Janelle, A. (2010). A Comparative Analysis of the Global Emergence of Social Enterprise. Voluntas Journal, 21, 162-179.
Social Enterprise UK. (2012). Social Enterprise Explained. https://www.socialenterprise.org.uk/social-enterprise-explained
Social Enterprise Association UK. (2014). Brief guide to the public services (social value) Act 2012. http://www.socialenterprise.org.uk/uploads/files/2012/03/public_services_act_2012_a_brief_guide_web_version_final.pdf
Social Sector Network UK. (2018). Social entrepreneurship books everyone needs to read. https://socialsectornetwork.com/2018/11/