การประยุกต์ใช้หลัก 7Rs ด้านโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • มาลัย โพธิพันธ์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • พูลศิริ ประคองภักดิ์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • ศรีวารี สุจริตชัย คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

ท่องเที่ยวเชิงเกษตร, 7Rs ด้านโลจิสติกส์, โลจิสติกส์การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดจันทบุรี ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว และสร้างแบบจำลองการท่องเที่ยวด้วยหลัก 7Rs ด้านโลจิสติกส์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการที่เปิดให้บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในรูปแบบสวนผลไม้ 22 สวน และนักท่องเที่ยว 120 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออธิบายข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) สำหรับข้อมูลแบบนามบัญญัติ

ผลวิจัยพบว่าผู้ประกอบการมีความพร้อมมากที่สุดในด้านจัดการอาหารที่รองรับนักท่องเที่ยว ความพร้อมด้านกระบวนการจัดการท่องเที่ยว  ผลการสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาแบบกลุ่มทัวร์โดยได้รับข้อมูลมาจากเว็บไซต์ผ่านอินเตอร์เน็ตและเพื่อน/ญาติหรือคนรู้จัก ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการเดินทางท่องเที่ยวต่อครั้งคือ 10,000 – 20,000 บาท  กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ การทานผลไม้สดจากสวน การซื้อผลไม้เป็นของฝาก  การได้รับประทานอาหารพื้นเมือง และการเดินเที่ยวชมสวน  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่บอกต้องการกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้งอย่างแน่นอน  จากการสำรวจข้อมูลทั้งด้านความพร้อมของผู้ประกอบการและความต้องการของนักท่องเที่ยว พบว่ามุมมองของการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในรูปแบบของสวนผลไม้นั้น มีมุมมองที่มีความคล้ายคลึงกัน  เมื่อประเด็นความคาดหวังของนักท่องเที่ยวสอดคล้องกับศักยภาพของผู้ให้บริการอย่างชาวสวนหรือผู้ประกอบการอื่น ๆ เราสามารถคิดแบบจำลองการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยใช้หลัก 7Rs ด้านโลจิสติกส์มาใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงการนำหลักการอื่น ๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นเครื่องมือทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย.

ชนิศา มณีรัตนรุ่งโรจน์, พัชรี ทองคำ, กนกวรรณ มัติโก, พงศกร ไพรโต, พิชามญชุ์ ชูพุพซา และศศิศรัณย์ ฉัตรคำภู. (2562). โลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารสหศาสตร์, 18(2), 184-209.

ชูศักดิ์ วิเศษสมบัติ. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย. วิชาการ.

ประเวศ มหินทรเทพ. (2560). การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี. (2564). การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนบ้านบางเหรียงใต้ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. https://resource.lib.su.ac.th/ejournal/images/stories/SUTJ_Social/Vol35No2/article05.pdf

วุฒิชัย ศรีไพบูลย์. (2562). การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 4(2), 1-12.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2565). การพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจเพื่อสังคมด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย. https://ssed.nida.ac.th/images/jsd/Y22_2/01-PotentialityDevelopmentTourism_SEinThailand.pdf

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. (2565). แนวทางการพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. https://research.tni.ac.th/public/storage/document/fund/research_work/1652926274_0c5c05b9.pdf

สมาคมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร. https://www.tourismtaat.siam.edu/images/magazine/m14b1/03.taat.pdf

สุพัฒน์ อภิญญานุวัฒน์. (2562). การพัฒนาและทฤษฎีการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย. วารสารวิจัยการท่องเที่ยว, 10(1), 125-142.

Aunyawong, W., Waiyawuththanapoom, P, Setthachotsombut, N., & Wisedsin, T. (2020). Roles of 7Rs of Logistics management and consumer satisfaction on marketing performance of local bottled water SMEs in Thailand. Test Engineering and Management Journal, 83, 12220-12229.

Barbieri, C. (2013). Assessing the sustainability of agritourism in the US: a comparison between agritourism and other farm entrepreneurial ventures. Journal of Sustainable Tourism, 21(2), 252-270.

Christopher, M. (2016). Logistics and supply chain management. Pearson.

Fletcher, J., Fyall, A., Gilbert, D., & Wanhill, S. (2017). Tourism: principles and practice. Pearson Education.

Setthachotsombut, N., & Aunyawong, W. (2020). Agro-tourism service enhancement in Nakhon Pathom Province, Thailand: on capability increasing of the hospitality of agriculturists. International Journal of Supply Chain Management, 9(6), 1403-1414.

Smith, S. L. J., MacLeod, N. E., & Robertson, M. H. (2010). Tourism product development: a case study of organic farming in New Zealand. Journal of Sustainable Tourism, 18(5), 599-615.

The Chartered Institute of Logistics & Transport UK (2019). Glossary of terms and dictionaries. https://ciltuk.org.uk/Knowledge/Knowledge-Bank/Resources/Other-Resources/Useful-glossaries

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25