รูปแบบการยกระดับนวัตกรรมการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กลุ่มการค้าปลีกและการค้าส่งด้วยการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหา

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ แต้มแก้ว สาขาวิชาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก
  • สุขใจ ตันวีนุกูล นักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก
  • สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

กลุ่มการค้าปลีกและการค้าส่ง, นวัตกรรมการตลาด, การตลาดดิจิทัล, การตลาดเชิงดิจิทัล, การยกระดับ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการรูปแบบการยกระดับนวัตกรรมการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กลุ่มการค้าปลีกและการค้าส่งด้วยการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหา 2) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของการจัดการรูปแบบการยกระดับนวัตกรรมการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กลุ่มการค้าปลีกและการค้าส่งด้วยการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหา และ 3) สร้างแบบจำลองการจัดการรูปแบบการยกระดับนวัตกรรมการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กลุ่มการค้าปลีกและการค้าส่งด้วยการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหาโดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มการค้าปลีกและการค้าส่ง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษาพบว่า ระดับการจัดการเชิงกลยุทธ์ การตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหา ความสำเร็จทางการตลาด ปัจจัยของกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด และความได้เปรียบทางการแข่งขันของพนักงานธุรกิจผู้ประกอบการค้าปลีกและการค้าส่ง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเท่ากับ 4.17 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 รองลงมาคือ ด้านความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 และด้านปัจจัยของกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2557). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 14). สามลดา.

การันต์ เจริญสุวรรณ และกัณฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2566). สถานการณ์การตลาดดิจิทัลของธุรกิจโรงแรมในเขตเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี. วารสารพิกุลคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 20(2), 51-65.

เกศสิริ นวลใยสวรรค์, ทรงกลด พลพวก, วิมลกานต์ นิธิศิริวริศกุล, ฉัตรชัย ศรีมาลา, จรัญญา ไชยเสริฐ และสุเมธี เทียมสกุล. (2566). การตลาดดิจิทัลในยุคที่ท้าทาย บทบาทความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(1), 193-207.

จีณัสมา ศรีหิรัญ, ฉัตรวรุณ ศรีนาค, กวินทิพย์ เพ็งมีศรี, เปรมนีย์ ขำคม และกนกภรณ์ ครุฑภาพันธ์. (2565). นวัตกรรมการ ตลาดดิจิทัลของธุรกิจโรงแรม. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี, 9(2), 1-16.

ณัฐนันท์ กองจริต และชุติมา เกศดายุรัตน์. (2562). การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านเสริมสวยสัตว์เลี้ยง. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับัณฑิตศึกษาแห่งชาติ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธงชัย สันติวงษ์. (2548). การบริหารบุคคล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชพล เตชะพงศกิต. (2560). อนาคตทรรศน์ของอุตสาหกรรมค้าปลึก มีทิศทางไปทางไหนดีถึงอยู่รอดได้. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการศรษฐกิจและสังคมแห่งชาลิ

ศุภญา ดีเมฆ และพิเชษฐ์ พรหมใหม่. (2566). การตลาดเชิงเนื้อหาแบบดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเหล็กรูปพรรณของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา. วารสารอินทนิลบริหารศาสตร์, 1(1), 1-18.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). ETDA เผยปี 62 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย10 ชั่วโมง 22 นาที Gen Y ครองแชมป์ 5 ปีช้อน. https:/www.etda.or.th/th NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx

สุพัตรา คำแหง, สุธิกาญจน์ แก้วคงบุญ และสุภาพร ไชยรัตน. (2565). กลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์และการโฆษณาเชิงเนื้อหาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(2), 55-70.

อินทร์ อินอุ่นโชติ และแคทลียา ชาปะวัง. (2566). ความสัมพันธ์และผลกระทบระหว่างการตลาดดิจิทัลเชิงเนื้อหากับผลการดําเนินงานทางการตลาดของธุรกิจค้าปลีกและบริการในประเทศไทย. Journal of Modern Management Science, 16(1), 20-33.

Aaker, D., & Aaker, J. L. (2016). What are your signature stories?. California Management Review, 58(3), 49-65.

Akaeze, N. S., & Akaeze, C. (2017). Exploring the survival strategies for small business ownership in Nigeria. Australian Journal of Business and Management Research, 5(7), 35-48.

Appelbaum, D., Kogan, A., Vasarhelyi, M., & Yan, Z. (2017). Impact of business analytics and enterprise systems on managerial accounting. International Journal of Accounting Information Systems, 25, 29-44.

Bengtsson, M., & Johansson, M. (2014). Managing competition to create opportunities for small firms. International small business journal, 32(4), 401-427.

Chaffey, D., & Smith, P. R. (2022). Digital marketing excellence: planning, optimizing and integrating online marketing. Routledge.

Econsultancy. (2016). Conversion Rate Optimization Report 2016. https://econsultancy.com/reports/conversion-rate-optimization-report-2016/

Fainshmidt, S., Wenger, L., Pezeshkan, A., & Mallon, M. R. (2019). When do dynamic capabilities lead to competitive advantage? The importance of strategic fit. Journal of Management Studies, 56(4), 758-787.

Hair, J. F., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2013). Partial least squares structural equation modeling: Rigorous applications, better results and higher acceptance. Long range planning, 46(1-2), 1-12.

Johnson, M. H. (2018). Essential reproduction. John Wiley & Sons.

Kucuk, S. U., & Krishnamurthy, S. (2007). An analysis of consumer power on the Internet. Technovation, 27(1-2), 47-56.

Kumar, V., & Ayodeji, O. G. (2021). E-retail factors for customer activation and retention: An empirical study from Indian e-commerce customers. Journal of Retailing and Consumer Services, 59, 102399.

Lum, C., Koper, C. S., & Willis, J. (2017). Understanding the limits of technology’s impact on police effectiveness. Police quarterly, 20(2), 135-163.

Mairura, K. O., Ngugi, P. K., & Kanali, C. (2016). The role of compatibility in technology adoption among automobile mechanics in micro and small enterprises in Kenya. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 6(5), 503-511.

Odongo, N. H., & Wang, D. (2016). Constraints in development of micro and small enterprises in the economy of Kenya. International Journal of Management Research and Reviews, 6(6), 777.

Schermelleh-Engel, K., Moosbrugger, H., & Müller, H. (2003). Evaluating the fit of structural equation models: Tests of significance and descriptive goodness-of-fit measures. Methods of psychological research online, 8(2), 23-74.

Shibia, A. G. & Barako, D. G. (2017). Determinants of micro and small enterprises growth in Kenya. Journal of Small Business and Enterprise Development, 24(1), pp. 105–118. https://doi.org/10.1108/JSBED-07-2016-0118

Singh, A. & Dwivedi, P. 2018. Methyl-jasmonate and salicylic acid as potent elicitors for secondary metabolite production in medicinal plants: A review. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 7(1), 750-757.

Too, S. (2019). Survival strategies for owners of micro and small enterprises in Kenya. [Doctoral dissertation]. Walden University.

Wairimu, Z., & Mwilaria, S. M. (2017). Microfinance institutions’ social intermediation and micro and small enterprises survival in Thika town, Kenya. Asia Pacific Journal of Multidisciplinary Research, 5(2), 87-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27