ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok Shop ของลูกค้า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
แอปพลิเคชัน, TikTok Shop, พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์, การตัดสินใจซื้อสินค้าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok Shop ของลูกค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการใช้แบบฟอร์มที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok Shop ของลูกค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok Shop ของลูกค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
และ 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok Shop ของลูกค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok Shop ของลูกค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยแบบสอบถามได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน สถิติที่ใช้คือความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามของลูกค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งหมด 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21–30 ปี มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และสถานภาพโสด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยการใช้แบบฟอร์มของแอปพลิเคชัน TikTok Shop พบว่า มีความสำคัญปานกลาง ทั้งด้านการออกแบบแพลตฟอร์ม, ด้านการใช้งานง่ายของแพลตฟอร์ม, ด้านข้อมูลสินค้าที่ครบถ้วน, ด้านข้อมูลการบริการที่ครบถ้วน, ด้านการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจและด้านความปลอดภัยด้านข้อมูลและการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน TikTok Shop โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ในความสำคัญปานกลาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าของแอปพลิเคชัน TikTok Shop พบว่า อยู่ในระดับ เฉย ๆ ทั้งด้านความน่าเชื่อถือของโพสต์ของบุคคลมีชื่อเสียงใน TikTok, ด้านความคิดเห็นเชิงบวก, ด้านความคิดเห็น เชิงลบ, ด้านเนื้อหาโฆษณาและด้านการตัดสินใจในการซื้อ ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน TikTok Shop โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ในระดับเฉย ๆ และผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok Shop พบว่า ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าผ่าน TikTok Shop 1-2 ครั้ง/เดือน, ใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ 500 –1,000 บาท, ซื้อสินค้าประเภทสินค้าเกี่ยวกับความงาม, สาเหตุสั่งมีความต้องการสินค้าที่หลากหลาย และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าตัวเอง
References
Areerarat, S. (2018). Study of the influence of technology acceptance on the choice of Tik Tok application. https://www.mis.ms.su.ac.th/ MISMS01/PDF01/1617_20190522_p_101.pdf
Chatrongkakul, A. (2000). Consumer behavior. Thammasat University.
Chuaychunoo, P. (2016). Factors affecting consumer buying decisions about goods on social media. [Master’s thesis]. Thammasat University.
Cochran, W.G. (1953). Sampling for research. Sampling Techniques. Wiley.
Jungsamanukul, P. (2020). Regarding the elements of the TikTok application that create impulse purchases. [Master’s thesis]. Mahidol University.
Khanthajirawat, K. (2020). Subject: Study of behavioral factors and satisfaction of application users TikTok Thai and Chinese. [Master’s thesis]. Silpakorn University.
Kotler, P., & Keller, K. (2012). Marketing management (14th ed.). Pearson Prentice Hall.
Marketingoops. (2022). Revealing the 2022 trend insight: Thai people like “Entertainment,” creating opportunities for users, brands, and creators through TikTok. https://www.marketingoops.com/reports/shoppertainment-tiktok.
Serirat, S. et al. (1998). Consumer behavior. Pattanasuksa.
Singngen, N. (2021). On marketing strategies that affect the decision to purchase products through Facebook, Instagram, Line, Tiktok of Generation Y in Bangkok. [Master’s thesis]. Mahidol University.
Solomon, M. R. (1996). Consumer Behavior (3rd ed). Prentice-Hall.
Wanichbancha, K. (2001). Principles of Statistics (6th ed). Chulalongkorn University.
Wongmontha, S. (1999). Consumer behavior analysis. Diamond In Business World.