การลดปัญหาขาดแคลนสินค้าคงคลัง ด้วยการพัฒนาระบบการวางแผนบริหารทรัพยากรองค์กร กรณีศึกษา บริษัท MMM

ผู้แต่ง

  • คุณากร วิวัฒนากรวงศ์ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การขาดแคลนสินค้าคงคลัง, การพัฒนาระบบ, การวางแผนทรัพยากรองค์กร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารสินค้าคงคลังและจัดการข้อมูลเดิม 2) เพื่อลดปัญหาขาดแคลนสินค้าคงคลัง โดยการพัฒนาระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและเป็นศูนย์กลางในการจัดการข้อมูล บริษัท MMM ซึ่งสาเหตุหลักในการเกิดปัญหาเนื่องจากไม่มีระบบจัดการฐานข้อมูลในการบริหารงานองค์กร แต่เดิมใช้การจดในกระดาษ ขาดวิธีการในการสื่อสารที่เหมาะสม ทำให้ง่ายต่อการเกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสารและผู้ปฏิบัติงานขาดประสบการณ์และความชำนาญทำให้อาจเกิดความผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูล ประชากร คือ พนักงานในบริษัท MMM ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ จำนวน 18 ตัวอย่าง โดยการสัมภาษณ์ในเชิงลึกรายบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนผังสาเหตุและผลแสดงปัญหาการขาดแคลนสินค้าคงคลัง การพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลผ่านเว็บแอปพลิเคชันระบบการวางแผนบริหารทรัพยากรองค์กร ผ่านการออกแบบผังงานและแผนภาพแสดงการไหลของข้อมูล

            จากการศึกษาพบว่าหลังจากการดำเนินงานปรับปรุงบริษัทสามารถลดระยะเวลาในการประมวลผลและปฏิบัติงานจาก 13.25 นาทีต่อรายการธุรกรรม เหลือ 6.7 นาทีต่อรายการธุรกรรม ลดลงร้อยละ 49.43 จากเวลาเดิม จากเดิมการขาดแคลนสินค้าคงคลัง จำนวน 31 หน่วยจัดเก็บ เหลือ 5 หน่วยจัดเก็บ ลดลงร้อยละ 83.87 เมื่อพิจารณาการลดลงของมูลค่าความเสียหายจาก 570,500 บาท/เดือน เหลือ 23,000 บาท/เดือน ลดลงร้อยละ 95.97% ตามลำดับ

References

Aroba, O. J. (2023). An ERP SAP implementation case study of the South African Small Medium Enterprise sectors. International Journal of Computing Sciences Research, 7, 2023.

Beheshti, H. M. (2006). What managers should know about ERP/ERP II. Management Research News, 29(4), 184-193.

HassabElnaby, H. R., Hwang, W., & Vonderembse, M. A. (2012). The impact of ERP implementation on organizational capabilities and firm performance. Benchmarking: An International Journal, 19(5), 618-633.

Jamil, G. L. (2023). Digital transformation from data science: A Source of organizational agility. In Enhancing business communications and collaboration through data science applications (83-106). IGI Global.

Kenge, R., & Khan, Z. (2020). A research study on the ERP system implementation and current trends in ERP. Shanlax International Journal of Management, 8(2), 34-39.

Mandal, P., & Gunasekaran, A. (2003). Issues in implementing ERP: A case study. European Journal of Operational Research, 146(2), 274-283.

Mazur, I., Rakauskas, F., & Rosa, A. (2018). Use of information and communication technology in logistics operations of storage: a case study of application in industry of toys. Independent Journal of Management & Production, 9(5), 623-639.

Romero, D., & Vernadat, F. (2016). Enterprise information systems state of the art: Past, present and future trends. Computers in Industry, 79, 3-13.

Usmani, U. A., Happonen, A., & Watada, J. (2023, April). ERP Integration: Enhancing Collaboration in Virtual and Extended Enterprises. In World Conference on Information Systems and Technologies (pp. 161-178). Singapore: Springer Nature Singapore.

Wiwattanakornwong, K., Limlawan, V., Jangruxsakul, S., Khumboon, R., & Banthip, T. (2022). Business Intelligence Development to Supporting Logistics Management for SMEs: A Case Study Of XYZ Company. Suthiparithat, 36(3), 65-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30